การรักษามะเร็งและแนวโน้มในอนาคต (ตอน 1)

มะเร็ง

การรักษามะเร้งนั้น นอกจากหลักการสำคัญคือ รู้เร็ว รักษาได้ หายขาด แต่ปัญหาที่มะเร็งยังทำให้คนไทยเสียชีวิตคือ

  1. ทำอย่างไร ให้รู้เร็วว่าเป็นมะเร็ง
  2. รักษาตามมาตรฐาน ตามระยะโรค และการรักษาเสริม แก้ไขผลข้างเคียงจากการรักษา และการรักษาโรคร่วม
  3. ทำอย่างไรไม่ให้เป็นซ้ำ และทราบแต่แรกว่าเริ่มมีมะเร็งกลับมาและจัดการ

เรามาลองขยายความกันทีละข้อนะครับ

  1. การหามะเร็งระยะแรก มะเร็งส่วนใหญ่ไม่มีอาการ นอกจากมะเร็งที่เป็นก้อนโตขึ้นชัดหรือมีเลือดออกจากทวาร ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการ “คัดกรองมะเร็งตั้งแต่ไม่มีอาการ” โดยเลือกกลุ่มที่เสี่ยงมาจัดการเป็นพิเศษ (personalized cancer screening) และปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจากเราเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งทั้งที่ตรวจสุขภาพประจำปี รวมทั้งตรวจสารบ่งชี้มะเร็งและพบว่าเป็นปกติ จึงมีการเพิ่มการตรวจมะเร็งของอวัยวะ เช่น เอ็กซเรย์ปอด เต้านม, การตรวจภายในสตรี, ส่องกล้องหาติ่งเนื้อลำไส้ก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งการตรวจเหล่านี้มีข้อมูลชัดเจนว่าถ้าตัดออกแล้วจะไม่เป็นมะเร็ง

แต่คำถามคือใครจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายสูงเหล่านี้??

 

แนวทางการพัฒนาการตรวจหามะเร็งระยะแรกในปัจจุบัน

  • การตรวจหามะเร็งปอดระยะแรกที่เอกซเรย์ปอดหาไม่เจอ ได้แก่ การที่คนกลุ่มเสี่ยงคือ ได้รับควันบุหรี่มานานเข้ารับการตรวจ Low dose CT scan ซึ่งหามะเร็งได้เร็วและเจอตั้งแต่ก้อนยังเล็ก และสามารถตัดออกได้
  • ใช้การตรวจพันธุกรรมของเชื้อไวรัส HPV ร่วมกับการตรวจภายในแบบใหม่ (Thin prep and HPV DNA test) เพื่อบอกความเสี่ยงและปรับความถี่ห่างในการตรวจภายใน (ถ้ามีเชื้อ เท่ากับเสี่ยงต้องตรวจบ่อย)
  • ใช้การตรวจพันธุกรรมของเชื้อไวรัส EBV เพื่อบอกความเสี่ยงมะเร็งหลังโพรงจมูก ในญาติของผู้ป่วย เพื่อวางแผนส่องกล้องตรวจอย่างเหมาะสม
  • การตรวจยีนมะเร็งเต้านมและรังไข่แบบเกี่ยวกับพันธุกรรม หรือยีน BRCA เพื่อวางแผนกำหนดการตรวจหาก้อนเต้านม และรังไข่ เช่น ถ้ามียีนกลายพันธุ์ก็ต้องรีบตรวจตั้งแต่อายุน้อย และคุยกับแพทย์ถึงการลดความเสี่ยงด้วยการทำศัลยกรรมเต้านมก่อนเกิดมะเร็ง นอกจากนี้การตรวจยีน BRCA ยังใช้เป็นแนวทางปรับการดำเนินชีวิต เช่น เลี่ยงการใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิงโดยไม่จำเป็น, ใช้ในการช่วยเลือกใช้ยามุ่งเป้าให้ตรงกับคนไข้แต่ละคนได้ เช่น คนไข้มะเร็งรังไข่ที่มียีน BRCA กลายพันธุ์จะได้ประโยชน์จากการใช้ยาเม็ด Olaparib กินเพื่อเป็นทางเลือก นอกจากเคมีบำบัด ทั้งนี้การตรวจยีนมะเร็งในสมัยก่อนมีราคาที่แพงมากและต้องรอผลตรวจนาน 3-4 เดือน แต่ปัจจุบันสามารถตรวจในประเทศไทยได้ โดยตรวจจากเลือด และรอผลเพียง 3-4 สัปดาห์อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจก็ลดลงมาก
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA พบว่า ถ้าค่านี้สูงเกิน 10 อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งต่อมลูกหมากและควรส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อันตราย คนไข้บางส่วนจึงกลัวและไม่ยอมตรวจ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีตรวจเลือด Liquid biopsy ที่จะหาเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากที่หลุดออกมาในกระแสเลือด เพื่อบอกโอกาสที่จะมีมะเร็งและความจำเป็นต้องรับการตัดชิ้นเนื้อถ้าการผลเลือดนี้บ่งไปทางมะเร็ง และตรวจซ้ำตามระยะเวลาที่กำหนดจากค่าเลือด
  • การตรวจส่องกล้องหามะเร็งลำไส้ระยะแรก สามารถปรับได้โดยใช้การตรวจยีนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ คนที่มีพี่น้องเป็นมะเร็งลำไส้อายุน้อย หรือตรวจพบยีนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ต้องส่องกล้องตั้งแต่อายุน้อยกว่าคนทั่วไป แต่มีความกังวลหรือกลัวการส่องกล้อง และมีความเสี่ยงจากผลแทรกซ้อนเช่นกินยาที่ทำให้เลือดออกง่ายก็มีเทคโนโลยีตรวจเลือด Liquid biopsy ที่จะหาเซลล์มะเร็งลำไส้ที่หลุดออกมาในกระแสเลือด เพื่อบอกโอกาสที่จะมีมะเร็งและความจำเป็นต้องรับการส่องกล้องถ้าผลเป็นบวก ส่วนถ้าผลเป็นลบก็ให้ตรวจซ้ำในปีถัดไปได้

 

ปัจจุบันเราทราบว่ามะเร็งเกิดจากพันธุกรรมที่ทำให้เซลล์ร่างกายตัดลงกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง ไม่ว่าเป็นมาแต่เดิมหรือจากการกระตุ้นโดยสารก่อมะเร็ง หรือโดยธรรมชาติตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เราใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีพันธุศาสตร์ หรือ Genomic มาช่วยออกแบบแผนการคัดกรองมะเร็งเฉพาะบุคคล เพื่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด เพราะมะเร็ง ถ้ารู้เร็วก็รักษาได้และหายขาด

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid