วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าอายุที่เปลี่ยนแปลงไปและเพศมีผลต่อการความแตกต่างของจำนวนและการทำหน้าที่ของลิมโฟไซต์ที่ส่วนปลาย (Peripheral blood lymphocytes) หรือไม่ โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 162 คน และเพศหญิงสุขภาพดีจำนวน 194 คน อายุ 20 – 90 ปี ผลจากการศึกษาพบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับการลดลงของภูมิคุ้มกัน โดยพบว่าผู้หญิงจะลดน้อยลงกว่าผู้ชาย และนี่อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชายในญี่ปุ่น จากการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
อายุกับการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดง (RBCs) และเม็ดเลือดขาว (WBCs)
ตัวแปร | หน้าที่ | เพศชาย | เพศหญิง | เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ |
เม็ดเลือดแดง (RBCs)*,** | นำออกซิเจนส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ | ลดลง | ไม่ลดลง | แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ |
เม็ดเลือดขาว (WBCs)* | ต่อต้านหรือทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย | ลดลง | ลดลง | ไม่แตกต่างกัน |
ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes)*,*** | T cells และ B cells | มีแนวโน้มลดลง | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ |
นิวโทรฟิล (Neutrophils)* | ทำลายสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะแบคทีเรีย | ลดลง | ลดลง | ไม่แตกต่างกัน |
*จำนวน/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
**จากการศึกษาระดับของเม็ดเลือดแดง (RBCs) ในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบว่าระดับเม็ดเลือดแดงของเพศชายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ
***จากการศึกษาพบว่าในช่วงวันรุ่นเพศชายจะมีจำนวนลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) สูงกว่าเพศหญิง แต่เมื่ออายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน T cells จะใกล้เคียงกันทั้งในเพศชายและเพศหญิง
อายุกับตัวแปรทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunological parameters) ที่ลดลง
ตัวแปร | หน้าที่ | เพศชาย | เพศหญิง | เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ |
T Cells* | ตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพ | ลดลง | มีแนวโน้มลดลง | เพศชายลดมากกว่าเพศหญิง |
CD8+ T cells* | ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ | ลดลง | ลดลง | ไม่แตกต่างกัน |
CD8+CD28+ T cells* | เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน | ลดลง | ลดลง | เพศชายลดมากกว่าเพศหญิง |
Naïve T cells* | T cells ที่ยังไม่เคยพบแอนติเจนมาก่อน | มีแนวโน้มลดลง | มีแนวโน้มลดลง | เพศชายลดมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญ |
T cell proliferative activity** | การเพิ่มจำนวนของ T cells | ลดลง | ลดลง | ไม่ได้ทำการศึกษา |
T cells proliferation index (TCPI)** | เป็นค่าที่คำนวณมาจากการเพิ่มจำนวนของ T cells | ลดลง | ลดลง | เพศชายลดมากกว่าเพศหญิง |
T cells immune score | เป็นค่าที่ได้มาจากการคำนวณ 5 ตัวแปรทางภูมิคุ้มกันที่มีความสัมพันธ์กับ T cells | ลดลง | ลดลง | เพศชายลดมากกว่าเพศหญิง |
B cells* | ผลิตภูมิคุ้มกันชนิสารน้ำที่เรียกว่า แอนติเจน | ลดลง | มีแนวโน้มลดลง | แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ |
*จำนวน/ลูกบาศก์มิลลิเมตร**อายุที่มากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการลดลงของ T cell proliferative activity และTCPI ซึ่ง TCPI เป็นค่าที่คำนวณมาจากT cell proliferative activity จากการศึกษาพบว่าในเพศชายมีค่าลดลงมากกว่าในเพศหญิง การที่อัตราการลดลงของค่า TCPI น้อย เป็นตัวบ่งชี้ว่าการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุเพศหญิงดีกว่าเพศชาย อาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าเพศหญิงมีอายุยืนกว่าเพศชาย โดยอายุเฉลี่ยของประชากรในประเทศญี่ปุ่นเพศหญิงประมาณ 85.5 ปี และเพศชาย 79.0 ปี ห่างกันโดยประมาณ 6 ปี ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าความแตกต่างนี้ทำให้เกิดความแตกต่างทางอายุชีวภาพ (Biological age) ของเพศชายและเพศหญิงหรือไม่ จึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunological parameters), T cell immune score ระหว่างกลุ่มเพศชายที่มีอายุต่ำกว่าเพศหญิง 6 ปี โดยไม่รวมเพศชายที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป และเพศหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 33 ปี อายุเฉลี่ยของเพศชายอยู่ที่ 48.2 ปี และเพศหญิงอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 54.7 ปี ผลจากการศึกษาพบว่าความแตกต่างของอายุขัย (Life expectancy) ระหว่างเพศชายและเพศหญิงอาจจะเกิดจากความแตกต่างทางอายุชีวภาพ (Biological age) และตัวแปรทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunological parameters) อาจจะใช้เป็นตัวบ่งชี้ของอายุชีวภาพ (Biological age) ได้
อายุกับตัวแปรทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunological parameters) ที่เพิ่มขึ้น
ตัวแปร | หน้าที่ | เพศชาย | เพศหญิง | เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ |
CD4+ T cells* | ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น ๆ | ไม่เปลี่ยนแปลง | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ |
CD4/CD8 ratio | เป็นค่าที่บ่งบอกถึงสภาวะของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้ามากกว่า 2 แสดงว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี แต่ถ้าน้อยกว่า 1 แสดงว่าร่างการอาจจะมีภาวะผิดปกติ | เพิ่มขึ้น | เพิ่มขึ้น | เพศชายเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ |
Memory T cells* | เซลล์หน่วยความจำ สามารถตอบสนองแอนติเจนที่ร่างกายสัมผัสมมาแล้วอย่างรวดเร็ว | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | เพิ่มขึ้น | เพศชายเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ |
CD4+CD25+ T cells* | ควบคุมการทำงานของ T cells | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | ไม่ได้ทำการศึกษา |
NK cells* | ทำลายเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส | มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น | เพิ่มขึ้น | เพศชายเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ |
*จำนวน/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
การสร้างไซโตไคน์ (Cytokine production)
ไซโตไคน์เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ ไซโตไคน์ที่สร้างจาก T cells และ B cells ได้แก่ interleukin (IL) และ interferon (IFN) โดยไซโตไคน์ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลงและทำลายเซลล์ จากการศึกษาพบว่าการสร้างไซโตไคน์ทั้งประเภท Th-1 (IFN–γ และ IL-2) และ Th-2 (IL-6) มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในเพศชายมีการลดลงของ IL-6 อย่างมีนัยสำคัญ และในเพศหญิงการลดลงของ IL-10 จะน้อยกว่าในเพศชาย ด้วยเหตุผลที่ IL-10 ทำหน้าที่เป็นตัวต้านภูมิคุ้มกัน จึงทำให้เพศหญิงมีการลดลงของตัวแปรทางภูมิคุ้มกันอื่น ๆ น้อยกว่าเพศชาย
ฮอร์โมนเพศ (Sex hormones) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อทั้งการตอบสนองทางร่างกายและทางภูมิคุ้มกัน และเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะที่แตกต่างกันทางระบบภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นความแตกต่างทางด้านพันธุศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละเพศ รวมทั้งการแสดงออกของรูปแบบฮอร์โมนเพศ และการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบเหล่านี้ในแต่ละช่วงเวลาของอายุอาจจะมีความสัมพันธ์กับเพศในการที่มีอายุยืนได้