ชะเอมเทศ (Licorice) สมุนไพรเหนี่ยวนำการสร้าง Reguratory T cells

ใช้เป็นยาในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง และการอักเสบอื่น ๆ รวมทั้งโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (inflammatory bowel disease), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)

 Regulatory T cells (Treg) มีบทบาทสาคัญในกระบวนการรักษาสมดุลในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการนำ Treg cells ที่ถูกทำให้เพิ่มจำนวนให้มีปริมาณมากขึ้นมาใช้ในการรักษา โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง (autoimmune disease) และโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ (inflammatory disease) กันอย่างกว้างขวาง 

ชะเอมเทศ เป็นสมุนไพรที่ใช้กันทั่วไปมามากกว่า 1,000 ปี มีการรวบรวมหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่ามีฤทธิ์ในการปรับระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulator) แต่ยังไม่ทราบถึงกลไกหรือกระบวนการกระตุ้นการเหนี่ยวนำและการทำหน้าที่ของ Treg cells ดังนั้นการวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการกระตุ้นการเหนี่ยวนำและการทำหน้าที่ของ Treg cells โดยชะเอมเทศ 

 จากการศึกษาพบว่า ชะเอมเทศมีฤทธิ์ในการเหนี่ยวนำ (Induction) และการทำหน้าที่ (function) ของ Treg cells โดยสารสาคัญ 2 ชนิด คือ isoliquiritigenin และ naringenin ซึ่งพบว่า naringenin กระตุ้น Treg cells โดยการเป็น AhR (aryl hydrocarbon receptor) agonist ส่วน isoliquiritigenin อาจจะกระตุ้น Treg cells ที่แตกต่างจาก naringenin จากการศึกษาพบว่า isoliquiritigenin ลด mTOR signaling activity ซึ่ง mTOR pathway เป็นกลไกสำคัญในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเจริญเติบโตของ Th cells และ Treg cells 

การศึกษาในสัตว์ทดลองที่มีภาวะลำไส้อักเสบ (Colitis) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มของโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (inflamatory bowel disease) เกิดจากความผิดปกติของการอักเสบในลำไส้ (inflammatory disorders) ร่วมกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immume regulatory defect) ของเยื่อเมือก ได้ทำการศึกษาโดยการให้สัตว์ทดลองที่มีอาการของภาวะลำไส้อักเสบรับประทาน isoliquiritigenin, naringinin หรือน้ำ ทุกวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย isoliquiritigenin หรือ naringenin มี Treg cells ที่เพิ่มขึ้น และอาการของลำไส้อักเสบ เช่น น้ำหนักลดและเลือดออกในลำไส้ตรง, colon shortening ดีขึ้นขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ 

 จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า Isoliquiritigenin และ naringenin มีฤทธิ์ในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (inflamatory bowel disease) ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้แนะนำว่า isoliquiritigenin และ naringenin อาจจะนำไปใช้เป็นยาในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง และการอักเสบอื่น ๆ รวมทั้งโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (inflammatory bowel disease), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid