ทานอาหารอย่างไรเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก

อาจฟังดูขัดกับสิ่งที่คุณเคยเชื่อมาตลอด แต่จริง ๆ แล้วไม่มีอาหารชนิดใดที่จำเพาะในการลดน้ำหนัก เช่นลดการทานอาหารจำพวกแป้ง ใช่ นั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน แทนที่เรามัวแต่กังวลว่าเราควรกินอาหารอะไร เราน่าจะกลับมาคำนึงว่าเรากินอาหารเข้าไปเท่าไหร่ แค่คุณปรับขนาดอาหารต่อการกินให้ลดลง ถึงแม้จะเป็นอาหารชนิดเดิม ๆ ที่คุณเคยทานมาตลอด เพียงเท่านี้พลังงานที่คุณรับเข้ามากี่ลดลงแล้ว

อีกวิธีการหนึ่งคือลดการทานอาหารจำพวกที่ให้พลังงานสูง โดยเลือกตัดอาหารที่มีไขมัน หรือ น้ำตาลปริมาณสูง เช่น เฟรนช์ฟรายส์ โดนัท ไอศกรีม เนื่องจากเป็นอาหารแปรรูป จะทำให้เรากลับมาหิวได้เร็ว ในทางตรงกันข้ามการกินแอปเปิลไม่เพียงแต่เต็มไปด้วยสารอาหารแต่สามารถทำให้คุณอิ่มได้นานอีกด้วย อาจจะดูเป็นการยากในการกะปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหาร แอพพลิเคชั่นในมือถือของคุณเป็นทางเลือกหนึ่งในการติดตามการได้รับพลังงานจากค่าอ้างอิง หรือจากเวบไซต์เช่น () ซึ่งการที่จะลดน้ำหนักให้ได้ 1 กิโลกรัมภายในสองอาทิตย์ คุณต้องลดพลังงาน 550 แคลอรี่ต่อวัน 

นอกจากนี้เราต้องเข้าใจว่าการลดน้ำหนักนั้นไม่ใช้แค่การเปลี่ยนแปลงนิสัยในการกิน และการออกกำลังกาย เท่านั้นแต่รวมถึง กิจกรรมอื่น ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เช่นคุณเลือกจะให้ความสำคัญของเวลาเท่าไหร่กับการนอนหลับ หรือเล่นอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณลดน้ำหนักสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่มีความชัดเจน และสามารถทำได้จริง 

คุณอาจจะมีขนาดตัวที่คงที่มาตั้งแต่สมัยมัธยมจนกระทั่งหลังแต่งงาน แต่คุณตั้งเป้าหมายว่าต้องลดน้ำหนักให้ได้มากกว่า 20 กิโลกรัม ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอให้หยุดความตั้งใจนั้นไว้ก่อน ให้เปลี่ยนเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้จริงเช่น ตั้งเป้าหมายให้น้ำหนักลดลง 5%-10% ของน้ำหนักตัวของคุณ อย่าลืมให้เวลา และความยืดหยุ่นที่เพียงพอในการที่จะไปยังจุดหมาย จงจำไว้เสมอว่าคนส่วนใหญ่ใช้เวลาอย่างต่ำถึงหกเดือนในการที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน เช่น ฉันต้องกินข้าวเย็นลดลงและออกกำลังกายให้มากขึ้น แต่ควร ระบุเป้าหมายลงไปให้ชัดเจน ในกำหนดช่วงเวลาที่สั้น เช่นในหน่วยวัน หรือสัปดาห์ เช่น

ฉันทำอาหารที่มีประโยชน์จากบ้านไปทานมื้อเที่ยงที่ทำงานให้ได้อย่างน้อยสามครั้ง ในสัปดาห์หน้า 

ฉันจะไปเดินเล่นกับเพื่อนหลังจากเลิกงานในทุก ๆ วันจันทร์ และวันพุธ

กินอาหารเช้าให้ช้าลง และมีสมาธิจดจ่อกับการกิน 

หลาย ๆ คนไม่ทานอาหารเช้าเนื่องจากภาวะที่เร่งรีบ และยังไม่รู้สึกหิว ลองตื่นนอนให้เร็วขึ้นซัก 15 นาที ซึ่งก็หมายถึงการนอนที่เร็วขึ้นด้วยอย่างไรก็ตามอย่าแก้ปัญหาโดยการลดเวลานอน เพราะการนอนที่ดีนั้นก็สำคัญต่อสุขภาพของคุณมาก ๆ เช่นกัน โดยคุณควรฝึกทานให้ช้าลงเช่น วางช้อนส้อม จิบน้ำ กาแฟ หรือชา ระหว่างเคี้ยว โดยควรใช้เวลาในการทานอาหารอย่างน้อย 20 นาทีในแต่ละมื้ออาหาร ลองเริ่มจับเวลาเมื่อเริ่มทานในการตรวจสอบตัวคุณเองดู

หาผู้ช่วย

ถ้าคุณประสบปัญหาในการลดน้ำหนัก นักกำหนดอาหารสามารถช่วยในการออกแบบแผนการทานอาหาร หลังจากนั้น คุณต้องไม่ได้ปรับเปลี่ยนแค่เพียงชั่วคราวแต่เป็นให้สัญญากับตัวเองว่านี่คือสิ่งที่เราต้องทำให้ได้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid