บทความน่ารู้

ตั้งครรภ์ยาก เพราะ NK Cells รู้และเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
ในสังคมปัจจุบันนี้ ด้วยสภาวะที่เร่งรีบ ความเครียด สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษมากมาย ทำให้สังคมคนในเมืองไม่ใช่เพียงแค่ วุ่นวายกับการใช้ชีวิต ยังส่งผลทำให้ครอบครัวยุคใหม่ที่ต้องการมีบุตร ไม่สามารถมีบุตรได้ง่าย หรือแม้แต่ข้อจำกัดทั้งทางเวลา และเศรษฐกิจ จึงทำให้พ่อแม่ยุคใหม่ใช้วิทยาศาสตร์ เข้ามามีส่วนช่วยในการเลือกเพศ หรือแก้ปัญหาการมีบุตรยาก แต่ทำไม เราใช้ทั้งวิธีทางธรรมชาติและวิธีทางวิทยาศาสตร์ แล้ว เกิดสภวะตัวอ่อนหลุด หรือแท้ง ทั้งๆ ที่เราก็แข็งแรง และเตรียมตัวมาอย่างดี ก็เพราะร่างกายเรามีกลไกลอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแท้ง หรือแท้งได้

ความยาวเทโลเมียร์ของเม็ดเลือดขาวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) (การศึกษาข้อมูลย้อนหลัง Cohort study ใน UK Biobank)
บทคัดย่อ โดยทั่วไปวัยผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่รุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค COVID-19 ซึ่งไม่แน่ว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเป็นตัววัดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบ่งบอกถึงอายุ ได้แก่ ความยาวของเทโลเมียร์ของเม็ดเลือดขาว (leucocyte telomere length ;LTL) จากการศึกษาก่อนหน้านี้ การตรวจ LTL มีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการบ่งบอกอายุ และอาจเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของโรค COVID-19 วิธีดำเนินงานวิจัย ทีมผู้วิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ของความยาวเทโลเมียร์ของเม็ดเลือดขาว (LTL) ของผู้ป่วยจาก ฐานข้อมูล UK Biobank (UKB) ที่เข้าร่วมในระหว่างปี

เผยความลับ เทโลเมียร์ ที่ไม่บอกแค่ความอ่อนเยาว์
กระบวนการความแก่ เป็นขบวนการที่ซับซ้อน และต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ร่างกายเราจากที่มีประสิทธิภาพดี กลับมีประสิทธิภาพที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้เราไม่สามารถหลีกหนีความแก่นั้นไปได้ เราจึงเห็นความชราของร่างกายปรากฏออกมาทางภายนอก และความสามารถของร่างกายที่ลดลง ไม่วาจะเป็นระบบอวัยวะที่เสื่อมถอย กำลังของร่างกายที่ไม่สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างได้ดังเดิม ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ความชราโดยรวมจากการนับอายุที่ผ่านในแต่ละปี แต่ในความเป็นจริงเซลล์ในร่างกายก็มีโอกาสแก่ เช่นเดียวกันเรา เพียงแค่เราไม่สามารถเห็นความแก่ของเซลล์ในร่างกายได้ แล้ว ณ เวลานี้ ในร่างกายเรา เซลล์ แก่กว่าร่างกายภายนอก หรือ ยังอ่อนเยาว์กว่าร่างกายภายนอก

ลองโควิด(Long Covid) : กับระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เหมือนเดิม
เมื่อคุณติดโควิดและหายจากอาการป่วยแล้ว อะไรเกิดขึ้นหลังจาก 8 เดือน ทาง Medical News Today ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดย Hassan Yayaha ได้รวบรวมงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ณ เวลานี้ โดยพบว่าตลอดเวลาที่มีการระบาดของโรค COVID19 ในตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจ

ไขความลับเซลล์เพชฆาต(NK cells) กับโควิด?
หลังจากการได้รับวัคซีน เราพบว่ากลุ่มคนที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงลดน้อยลง แต่สัดส่วนคนที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะเกิดในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง และ เบาหวานเป็นต้น นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยหนัก ประมาณ 15% เกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ที่เรียกว่า Type I interferon pathway ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1957 ว่าเป็นกลไกที่ทำลายไวรัสโดยตรง นอกจากนี้
เก็บ PBSC ไปทำไม
ในอดีต เรามีนวัตกรรมการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดหลากหลายวิธี เช่น การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากสายสะดือ จากกระดูก จากฟันน้ำนม เป็นต้น แต่ในปัจจุบันวิธีการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับความนิยมอีกวิธีหนึ่งคือการเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ที่ไม่ต้องเจ็บตัว ทำได้ง่ายและปลอดภัย ใช้เวลาในการทำสั้น สามารถนำเอาไปใช้ผลได้ภายใน 1 เดือน แต่คงจะมีหลายคนสงสัยว่าเก็บไปเพื่ออะไร การเก็บสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดโดยวิธีนี้สามารถที่จะใช้คงสภาพของเซลล์และอายุไว้ได้ รวมถึงสามารถที่จะนำไปใช้หากเป็นโรคในอนาคตได้ เช่น โรคมะเร็งบางชนิด รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง และในระยะหลังก็มีรายงานการศึกษาของการนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจที่มีหลอดเลือดตีบ ข้อเข่าเสื่อมได้อีกด้วย ขั้นตอนการเก็บ
ขยายความการรักษามะเร็งและแนวโน้มในอนาคต (ตอน 2)
ฉบับที่แล้ว ผมได้ขยายความถึงเรื่องที่ว่าทำอย่างไรให้รู้เร็วว่าเป็นมะเร็งให้ทราบกันไปแล้ว ฉบับนี้มาว่ากันต่อถึงเรื่องของการรักษามะเร็งมาตรฐานในปัจจุบัน การรักษามะเร็งมาตรฐานในปัจจุบัน การวินิจฉัยชนิดมะเร็งที่ถูกต้องเริ่มจากอาการที่สงสัย เช่น ตรวจพบก้อนเนื้อที่อวัยวะที่สงสัย มีภาพทางการแพทย์หรือผลตรวจแล็ปผิดปกติ และได้ชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา ที่เรียกเจาะชิ้นเนื้อ (biopsy) ทั้งจากการใช้เข็มเจาะบริเวณที่อยู่ตื้น หรือการผ่าตัดเข้าไปภายในร่างกายเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งจริง ๆ แต่โชคดีว่าปัจจุบันเรามีทางเลือกใหม่ ๆ เช่น ส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ endoscopic biopsy ใช้เข็มเจาะและนำวิถีด้วยภาพรังสีเจาะผ่านผิวหนังเข้าไปที่อวัยวะภายใน หรือ intervention
การรักษามะเร็งและแนวโน้มในอนาคต (ตอน 1)
การรักษามะเร้งนั้น นอกจากหลักการสำคัญคือ รู้เร็ว รักษาได้ หายขาด แต่ปัญหาที่มะเร็งยังทำให้คนไทยเสียชีวิตคือ ทำอย่างไร ให้รู้เร็วว่าเป็นมะเร็ง รักษาตามมาตรฐาน ตามระยะโรค และการรักษาเสริม แก้ไขผลข้างเคียงจากการรักษา และการรักษาโรคร่วม ทำอย่างไรไม่ให้เป็นซ้ำ และทราบแต่แรกว่าเริ่มมีมะเร็งกลับมาและจัดการ เรามาลองขยายความกันทีละข้อนะครับ การหามะเร็งระยะแรก มะเร็งส่วนใหญ่ไม่มีอาการ นอกจากมะเร็งที่เป็นก้อนโตขึ้นชัดหรือมีเลือดออกจากทวาร ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการ “คัดกรองมะเร็งตั้งแต่ไม่มีอาการ” โดยเลือกกลุ่มที่เสี่ยงมาจัดการเป็นพิเศษ (personalized cancer screening)
พันธุกรรมมะเร็งและการแพทย์แม่นยำเฉพาะบุคคล
พัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้การแพทย์เข้าใจถึงสาเหตุและกลไกของโรคต่างๆ นำมาซึ่งวิธีการรักษาโรคใหม่ๆทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น แต่ยังมีสาเหตุการตายสำคัญที่เรายังเอาชนะไม่ได้นั้นคือ “โรคมะเร็ง” ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับแรกๆของทุกประเทศ ในทศวรรษที่ผ่านมาเราได้ค้นพบความลับสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ นั่นก็คือแผนที่แสดงแบบพิมพ์พันธุกรรม หรือยีนของมนุษย์โดยโครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เพื่อศึกษารูปแบบพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตทั้งด้านกายภาพ การทำงานของอวัยวะในหน่วยที่เล็กที่สุดคือเซลล์ พบว่าการแบ่งเซลล์ถูกควบคุมโดยยีนของคนแต่ละคนที่ได้จากพ่อและแม่ ยีนส่งผลต่อโอกาศเกิดโรคเช่น เบาหวาน ไขมันสูงและโรคหัวใจ ไปจนถึงมะเร็ง แตกต่างกันในแต่ละครอบครัวและเชื้อชาติ โดยที่เราตรวจสอบ (ถอดรหัสยีน) สร้างเป็นแผนที่ของยีนและโรคที่เกี่ยวข้องกันและวิจัยต่อถึงการรักษาได้
“มะเร็งรังไข่” ภัยร้ายหญิงไทยและความหวังใหม่ในการรักษาด้วยยาตรงพันธุกรรม
รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีส่วนสำคัญมากในระบบฮอร์โมนสตรี ซึ่งเนื้อเยื่อรังไข่ในส่วนต่าง ๆ สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ตั้งแต่แบบไม่ลุกลาม ไปจนถึงมะเร็งชนิดร้ายที่กระจายไปอวัยวะภายในและเยื่อบุช่องท้อง “มะเร็งรังไข่” มักพบในหญิงไทยอายุ 40-60 ปี ซึ่งปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติมะเร็งของระบบสืบพันธุ์สตรี (เต้านมรังไข่ เยื่อบุช่องท้อง) ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเกี่ยวข้องกับยีนมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ยีน BRCA ซึ่งทำให้เกิดโรค Hereditiary Breast, Ovarian