พันธุกรรมมะเร็งและการแพทย์แม่นยำเฉพาะบุคคล

พันธุกรรมมะเร็ง

พัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้การแพทย์เข้าใจถึงสาเหตุและกลไกของโรคต่างๆ นำมาซึ่งวิธีการรักษาโรคใหม่ๆทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น แต่ยังมีสาเหตุการตายสำคัญที่เรายังเอาชนะไม่ได้นั้นคือ “โรคมะเร็ง” ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับแรกๆของทุกประเทศ

            ในทศวรรษที่ผ่านมาเราได้ค้นพบความลับสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ นั่นก็คือแผนที่แสดงแบบพิมพ์พันธุกรรม หรือยีนของมนุษย์โดยโครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เพื่อศึกษารูปแบบพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตทั้งด้านกายภาพ การทำงานของอวัยวะในหน่วยที่เล็กที่สุดคือเซลล์ พบว่าการแบ่งเซลล์ถูกควบคุมโดยยีนของคนแต่ละคนที่ได้จากพ่อและแม่ ยีนส่งผลต่อโอกาศเกิดโรคเช่น เบาหวาน ไขมันสูงและโรคหัวใจ ไปจนถึงมะเร็ง แตกต่างกันในแต่ละครอบครัวและเชื้อชาติ โดยที่เราตรวจสอบ (ถอดรหัสยีน) สร้างเป็นแผนที่ของยีนและโรคที่เกี่ยวข้องกันและวิจัยต่อถึงการรักษาได้

            การวิจัยพันธุกรรมเปลี่ยนความรู้ทางการแพทย์ด้านมะเร็งอย่างมาก เราทราบว่ามะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจมีมาตั้งแต่แรกเกิด ร่วมกับการได้รับสารก่อมะเร็ง การติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สะสมเพิ่มทีละน้อย ร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดพลาดไม่สามารถกำจัดเซลล์ผิดปกติออกไป สะสมจนกลายเป็นโรคมะเร็งในที่สุด ยีนที่มีผลให้เกิดมะเร็งนั้นมีทั้งยีนกระตุ้นและยีนยับยั้ง ซึ่งมีการทำงานหลายกลไกเชื่อมโยงกันแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นการรักษามะเร็งจึงควรจะเป็นไปตามพันธุกรรม (คณะนักวิจัยแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเกียรติยศทางการแพทย์ เจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2561)

            พันธุกรรมมีส่วนสำคัญ ทำให้คนไข้มะเร็งแต่ละคนมีความแตกต่างกันตั้งแต่อายุที่เริ่มเป็นมะเร็ง ระยะเวลาลุกลาม การตอบสนองต่อการรักษาต่อยาแต่ละชนิด แม้ว่าจะเป็นมะเร็งที่อวัยวะเหมือนกัน เซลล์มะเร็งแบบเดียวกัน แต่ลักษณะนิสัยความดุร้ายของมะเร็งก็แตกต่างกันออกไปซึ่งการรักษามะเร็งในอดีตที่ผ่านมาเป็นการรักษาโดยมองที่ชนิดและอวัยวะที่พบมะเร็งเหมือนๆกัน ในผู้ป่วยทุกรายด้วยรูปแบบเดียวกัน คือผ่าตัด ฉายรังสี ให้เคมี ยามุ่งเป้า และภูมิคุ้มกันบำบัด มีทั้งได้ผลดีและไม่ดี จึงเริ่มมีนักวิจัยสังเกตพบลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนให้ยาและผลการรักษาที่ตามมาจนนำมาสู่การแพทย์ที่แม่นยำเฉพาะบุคคล

            เราได้พัฒนาวิธีการตรวจหาพันธุกรรมมะเร็งว่าจะตอบสนองต่อยาแบบใด เพื่อเลือกใช้ยาได้ตรงกับพันธุกรรมมะเร็ง ถ้าสามารถให้ยาได้ตรงกับยีนที่คุมกลไกการกลายพันธุ์ได้ก็จะได้ผลการรักษาที่ดีขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลการติตตามผลการรักษามะเร็งปอดระยะลุกลามด้วยยาเคมีบำบัดที่ดีที่สุดในปัจจุบันก็จะคุมโรคได้ผลประมาณร้อยละ 40 และมีผลข้างเคียงมาก แต่ถ้าเลือกใช้ยาที่ตรงกับพันธุกรรมมะเร็งจะคุมโรคได้ผลอย่างน้อยร้อยละ 60-70 และมีผลข้างเคียงต่ำ บางรายอาจคุมโรคได้นานกว่ายาเคมีเป็นเท่าตัวขึ้นกับขนิดพันธุกรรม โดยสามารถแบ่งลักษณะพันธุกรรม และยาที่ใช้ได้ ดังนี้

  1. ยามุ่งเป้า EGFR ถ้าพบยีนกลายพันธุ์ EGFR โดยต้องดูว่าเป็นแบบ T790M (ดื้อยา) หรือแบบอื่นที่ตอบสนองดี
  2. ยามุ่งเป้า ALK ถ้าพบยันกลายพันธุ์ ALK, MET และ ROS1
  3. ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ถ้าตรวจพบว่ามีลักษณะ MSI-HIGH หรือย้อมชิ้นเนื้อมะเร็ง PD-L1 ให้ผลบวก
  4. ยาเคมีบำบัดแบบผสม ในกรณีไม่พบการกลายพันธุ์ตามข้างต้น แต่ต้องดูลักษณะย่อยของเซลล์มะเร็งด้วยว่าเป็นแบบ squamous cell หรือไม่เพราะสูตรยาเคมีจะแตกต่างกัน
  5. ยามุ่งเป้าใหม่ ซึ่งเริ่มการวิจัยใช้กับยีนกลายพันธุ์แบบอื่นนอกจากในข้อ 1-3 เช่น HER2, BRAF

จะเห็นได้ว่าการรักษามะเร็งระยะลุกลามในปัจจุบัน ไม่ใช่รักษาวิธีเดียวกันหรือเหมือนกันทุกคน โดยเฉพาะมะเร็งปอด แต่จะวิเคราะห์ลึกลงไปที่รูปแบบพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละคน ว่าจะตอบสนองกับการรักษาแบบใดมากที่สุด หรือเรียกว่า การแพทย์แบบแม่นยำเฉพาะบุคคล (Cancer genetic and Precision medicine) นั่นเอง

      เมื่อมีอข้อมูลพันธุกรรมมากขึ้น เราก็จะสามารถพัฒนายาใหม่ที่ให้ผลการตอบสนองที่ดีขึ้น ช่วยทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากการักษาเต็มที่และเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัดได้ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีหรืออาจเปลี่ยนโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่รักษาที่รักษาไม่หายให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง ที่แม้รักษาไม่หายขาดแต่สามารถกินยาวันละเม็ด คุมโรคได้นานหลายปีไม่ต่างจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในปัจจุบันก็เป็นได้

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid