มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน

ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi

บทคัดย่อ

มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease; CVDs)

เทโลเมียร์ (telomere) เป็นตำแหน่งบริเวณบนส่วนปลายสุดของแท่งโครโมโซมภายในเซลล์ ซึ่งมีลักษณะการเรียงลำดับเบสของดีเอนเอที่มีรหัสซ้ำๆ (repetitive DNA) โดยเทโลเมียร์มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาเสถียรภาพของโครโมโซม ทั้งนี้มีรายงานจำนวนมากที่กล่าวถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อการทำลายเทโลเมียร์ โดยในบทความนี้ผู้วิจารณ์รายงานได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่เคยถูกเผยแพร่ออกมาในปัจจุบันเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวข้องระหว่างมลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ (telomere length)

วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการเรียบเรียบเพื่อเขียนวารสารฉบับนี้ ผู้วิจารณ์รายงานจำนวน 2 ท่าน ได้ใช้วิธีทำการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลหลัก จำนวนหลายแหล่งข้อมูล อาทิเช่น ฐานข้อมูล PUBMED, EMBASE, SCOPUS, WEB OF SCIENCE และ Ovid ใช้คำสำคัญในการสืบค้นข้อมูล คือ  “มลพิษทางอากาศ (air pollution) และ เทโลเมียร์ (telomere) ซึ่งชุดข้อมูลที่สืบค้นได้จะไม่นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเรื่องมลพิษจากควันบุหรี่มารวมในวารสารฉบับนี้

ผลการสืบค้นข้อมูล ตัวอย่างวารสารงานวิจัยที่ทำการรวบรวมข้อมูล มีอาสาสมัครรวมทั้งสิ้น 12,058 คน ที่มาจากวารสารงานวิจัยที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลทั้งหมด 25 ฉบับ โดยแบ่งตามประเภทของบทความ ได้แก่ บทความประเภท cross-sectional 14 บทความ บทความ cohort 6 บทความ และ case-control studies 5 บทความ โดยจำนวน 19 บทความ (คิดเป็น 76 % จากบทความที่สืบค้น) การประเมินค่าความยาวของเทโลเมียร์ที่ได้รับผลกระทบของมลพิษจากเม็ดเลือดขาว (leukocyte telomere length; LTL) พบ 15 บทความระบุมลพิษทางอากาศส่งผลให้ระดับความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง พบ 2 บทความที่มลพิษส่งผลให้เทโลเมียร์ยาวกว่าปกติ พบ 1 บทความ ที่ผลไม่สอดคล้องกัน และ พบบทความที่ทำการตรวจสอบจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ผลของมลพิษไม่มีความสำพันธ์กับความยาวของเทโลเมียร์ การประเมินค่าความยาวโดยแยกตามตัวอย่างของเซลล์ที่เก็บเพื่อทำการตรวจ โดยหนึ่งบทความตรวจสอบความยาวของเทโลเมียร์จากน้ำลายที่ผลจากเทเมียร์ส่งผลต่อการที่มีความยาวกว่าปกติ และ บทความที่มีการตรวจจากเซลล์ รก สเปิร์ม และ buccal cells ที่มีรายงายการสั้นลงของเทโลเมียร์เมื่อได้รับผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศ การประเมินชนิดของสารมลพิษทางอากาศมีจำนวน 8 บทความ ซึ่งมลพิษต่างๆประกอบด้วย คาร์บอนดำ (black carbon), เบนซีน (benzene), ตะกั่ว (lead),  แคมเมียม (cadmium) และ polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH) การตามสถานที่ของอาสาสมัคร ได้แก่ 11 บทความในยุโรป 10 บทความในเอเชีย และ 4 บทความในอเมริกาเหนือ

ในบทสรุปการรวบรวมข้อมูลวารสารงานวิจัยส่วนมากที่ค้นพบให้ข้อมูลที่สามารถสรุปได้ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลให้ความยาวของเทโลเมียร์ในเซลล์สั้นลง ซึ่งในอนาคตอาจมีความสำคัญในการกำหนดรูปแบบการรายงานผลของความยาวเทโลเมียร์ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ

คำสำคัญ

Air pollution มลพิษทางอากาศ

Telomere length ความยาวของเทโลเมียร์

บทนำ

มลพิษทางอากาศเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยมลพิษนี้เป็นสาเหตุสำคัญลำดับที่ 3 ที่ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการตาย และเป็นลำดับที่ 9 ที่ส่งผลต่ออัตราการเจ็บป่วยสำคัญของมนุษย์ มีการคาดการณ์ว่าอนาคตในปี ค.ศ. 2050 อาจมีประชากรที่อาศัยในเมืองจำนวนโดยประมาณถึง 4.3 ล้านคน อาจเสียชีวิตอันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ คิดเป็น 65% จากสาเหตุการตายทั้งหมดทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีถึงอันตรายของผลกระทบมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว แต่มลพิษดังกล่าวยังมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอื่นๆ ที่ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นเลือด ผลข้างเคียงเกิดจากการได้รับการสัมผสกับมลพิษทั้งระยะเวลาสั้นและระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาทางระบาดวิทยาว่ามลพิษทางอากาศส่งผลเกี่ยวข้องกับโรคปอดและโรคมะเร็ง การได้รับหรือสัมผัสกับมลพิษเป็นระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่องมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและเส้นเลือดด้วยกันหลายโรค ได้แก่ ischemic และ non-ischemic cardiovascular disease (CVD) ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ (CVD) อยู่แล้วเมื่อได้รับมลพิษมักจะเกิดอาการการตอบสนองเฉียบพลันเมื่อได้รับมลพิษของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (particulate matter; PM)

การวัดความยาวเทโลเมียร์ (Telomere length) เป็นตัวชี้วัดนาฬิกาชีวิต (biological clock) ที่สำคัญที่สะท้อนถึงอายุที่แท้จริงของเซลล์ในร่างกาย โดยที่มีการศึกษาอย่างแน่ชัดแล้วว่าโรคหัวใจและเส้นเลือด (CVD) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการชราภาพและอายุที่เพิ่มมากขึ้น และมีนักวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาถึงตัวบ่งชี้เชิงชีววิทยา (biomarker) ที่สะท้อนถึงอายุที่แท้จริงของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งถึงแม้ว่าอายุที่นับจากการกำเนิดของแต่ละบุคคลอาจเท่ากันแต่อายุของเซลล์ที่แท้จริงอาจไม่เท่ากันและอาจมีสภาวะทางสุขภาพที่แตกต่างกัน

มีการศึกษาจำนวนมากก่อนหน้านี้ที่ชี้ให้เห็นว่าการที่มีความยาวของเทโลเมียร์ที่วัดจากเม็ดเลือดขาว (leukocyte telomere length; LTL) ที่สั้นกว่าค่าปกตินั้นมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infraction), โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease), หัวใจวาย (heart failure), ความดันสูง (hypertension) และ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) รวมถึงเคยมีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าการพบว่าการที่มีความยาวเทโลเมียร์ที่สั้นกว่าปกตินั้นส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ดังนั้นความยาวของเทโลเมียร์สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในการสันนิษฐานการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการวัดระดับอายุที่แท้จริงของเซลล์ ความยาวของเทโลเมียร์ที่สั้นกว่าปกติยังคงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดสภาวะโรคของการตอบสนองต่อสภาวะการอักเสบและความเครียดออกซิเดชันจากสารอนุมูลอิสระ เมื่อมีการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ

แต่อย่างไรก็ตามการรายงานความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศและเทโลเมียร์ยังคงไม่ชัดเจน จุดประสงค์ของบทความนี้ต้องการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นในฐานข้อมูลและสรุปผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อตวามยาวของเทโลเมียร์ในเซลล์

วิธีการค้นคว้าหางานวิจัยละวิเคราะห์ข้อมูล

            ผู้วิจัยใช้วิธีรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ systematic review และ meta-analysis ตามแนวปฏิบัติของข้อกำหนด Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analysis (PRISMA) guideline ฐานข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้นเป็นฐานข้อมูลประเภท Electronic databases ประกอบด้วย ฐานข้อมูล PubMed, Embase, Scopus, Web of Science และ Ovid โดยใช้คำสำคัญในการสืบค้นคือ “air pollution”, “air pollutant”, “particulate matter”, “telomere”  และคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มค้นหาตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2016 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2017

            ชนิดของมลพิษทางอากาศที่พบจากการสืบค้นจัดอยู่ในข้อกำหนดของ US Environmental Protection Agency ประกอบด้วย มลพิษ PM, nitrogen oxides (NOx), carbon monoxide (CO), sulfur dioxide (SO2), และ ozone (O3) แต่ข้อมูลที่รวบรวมได้จะไม่ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทการสูบบุหรี่ (tobacco smoke), animal, cell-line, และ การศึกษาทางพันธุศาสตร์ (genetic studies) และไม่รวมข้อมูลที่เป็นแหล่งข้อมูลประเภท บทคัดย่อ (Published conference abstracts), reviews, editorials และ ข้อมูลซ้ำซ้อน (duplicates) บทความที่เลือกใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นบทความที่อยู่ในหัวข้อเดียวกันและถูกตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งครั้ง และหากข้อมูลไม่เพียงพอผู้วิจัยจะทำการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าของแหล่งข้อมูล

            ผู้วิจัยจำนวนสองท่านซึ่งเป็นผู้สืบค้นและรวบรวบข้อมูลเพื่อสรุปผล คือ Bing Zhao และ Kazuaki Negishi แยกกันสืบค้นข้อมูลชัดเจน ค้นหาวารสารฉบับเต็มผ่านการอ่านหัวข้อและบทคัดย่อ ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่รวบรวมประกอบด้วย ปีที่วาสารตีพิมพ์ สถานที่ การออกแบบการทดลอง ขนาดจำนวนตัวอย่าง แหล่งของตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ อายุ เพศ ลักษณะของผู้รับการทดสอบ ชนิดมลพิษทางอากาศและปริมาณการได้รับ วิธีการติดตามการได้รับมลพิษ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความยาวเทโลเมียร์ ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง และ ลักษณะของกลุ่มควบคุม

            การประเมิณผลการสืบค้นโดยเครื่องมือที่ใช้ประเมิณได้จาก The Newcastle-Ottawa Quality Assessment Scale โดยเครื่องมือประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ selection, comparability และ outcome มีการให้คะแนนเป็นจำนวน stars เพื่อแสดงผลประเมินในแต่ละงานวิจัย

ผลการค้นคว้าหาวารสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศต่อค่าความยาวของเทโลเมียร์

            ผลจากการสืบค้นข้อมูลพบจากการค้นหาจากหัวข้อของงานวิจัยประกอบด้วย 2,151 หัวข้อ (แสดงในภาพที่ 1) ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำสำคัญของคำว่า มลพิษทางอากาศและเทโลเมียร์ มีการคัดแยกในรอบแรกโดยคัดบทความซ้ำซ้อนออกจำนวน 425 ฉบับ เหลือใช้วิเคราะห์ต่อจำนวน 1,726 ฉบับ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยทั้งฉบับ มีการคัดข้อมูลออกจำนวน 1,665 ฉบับ เหลืองานวิจัยจำนวน 61 ฉบับ และการคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลืองานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างมลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์จำนวน 25 ฉบับ

ภาพที่ 1 แผนผังของจำนวนวารสารที่ทำการสืบค้นและการคัดเลือกการใช้งานวารสารในการวิเคราะห์ข้อมูล

            ผลการแบ่งประเภทของบทความตามรูปแบบชนิดตัวอย่างและวิธีวิเคราะห์ การแสดงผลในตารางที่ 1 มีการสรุปข้อมูลลักษณะของบทความทั้ง 25 บทความ ประกอบด้วยจำนวนของผู้เข้าร่วมการทดสอบจากแต่ละบทความรวมทั้งสิ้น 12,058 ตัวอย่าง (n=12,058) (บทความอ้างอิง 16-40) โดยการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ในช่วง 14 ตัวอย่าง (บทความอ้างอิง 24) ถึง 6,796 ตัวอย่าง (บทความอ้างอิง 40) ประเภทของการศึกษาประกอบด้วย cross-sectional 14 บทความ (บทความอ้างอิง 16-18,22-24,26,27,32-35,38,40), cohort studies 6 บทความ (บทความอ้างอิง 20,29,30,36,37,39) และ case-control studies 5 บทความ (บทความอ้างอิง 19,21,25,28,31) ทุกบทความใช้วิธีวิเคราะห์ความยาวของเทโลเมียร์โดยวิธี Cawthon’s protocol โดยมีพื้นฐานมาจากวิธี PCR (polymerase chain reaction) แยกประเภทบทความตามชนิดตัวอย่าง ได้แก่ บทความที่วัดความยาวของเทโลเมียร์จากเม็ดเลือดขาว (LTL) 19 บทความ (บทความอ้างอิง 16,18-20,22-27,30-33,36-40) (ผู้เข้ารับการทดสอบ n=10,568),  บทความที่วัดความยาวของเทโลเมียร์จากรก (placenta TL) 2 บทความ (บทความอ้างอิง 17,28), บทความที่วัดความยาวของเทโลเมียร์จาก buccal cell 2 บทความ (บทความอ้างอิง 21,34) และ บทความที่วัดความยาวของเทโลเมียร์จาก sperm และ น้ำลาย 2 (บทความอ้างอิง 29) (บทความอ้างอิง 35) ตามลำดับ (ภาพที่ 2) การแบ่งประเภทบทความตามวิธีการทดลอง มีจำนวน 6 บทความ (บทความอ้างอิง 16,17,27,33,35,38) ใช้วิธีการทดลองของ Cawthon’s protocols รูปแบบใหม่ที่ปรับปรุงตีพิมพ์ในปี 2009 และบทความที่เหลือ ใช้วิธีการทดลองของ Cawthon’s protocols รูปแบบ original การแบ่งประเภทของบทความตามแหล่งที่ทำการศึกษา โดยการศึกษาในยุโรปจำนวน 11 บทความ (บทความอ้างอิง 17,19,20,23,25,26,31-33,35,36) การศึกษาในเอเชียจำนวน 10 บทความ (บทความอ้างอิง 16,18,21,22,27-29,34,38,39) และ ในอเมริกาเหนือ 4 บทความ (บทความอ้างอิง 24,30,37,40) การแบ่งตัวอย่างตามเชื้อชาติ โดยเป็นชาวอเมริกัน 7,023 คน, ชาวยุโรป 3,254 คน และ ชาวเอเชีย 1,781 คน การเปรียบเทียบของแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศ

            การวิเคราะห์ตามความเข้มข้นประเภทของมลพิษ (PM) จากงานวิจัย 8 บทความ (บทความอ้างอิง 20,22,33-37,39) โดยงานวิจัยจำนวน 7 บทความ (บทความอ้างอิง 22,33-37,39) วิเคราะห์ PM2.5, งานวิจัยจำนวน 5 บทความ (บทความอ้างอิง 20,22,35,36,39) วิเคราะห์ PM10 งานวิจัย 2 บทความ (บทความอ้างอิง 20,37) วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล PM จากหลายแหล่งในโรงงานอุตสาหกรรมในการคำนวนการได้รับมลพิษของแต่ละบุคคล และมีหนึ่งบทความ (บทความอ้างอิง 22) วิเคราะห์ข้อมูลของบุคคลต่อสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่

การแบ่งการติดตามมลพิษของระดับ PM โดยงานวิจัยจำนวน 3 ฉบับ (บทความอ้างอิง 33,35,36) ประเมินระดับ PM จากการเลือกระบุตำแหน่งเดิมที่วัด งานวิจัยจำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 39) วัดระดับ PM ตามจริงตามการเก็บตัวอย่าง และ งานวิจัยอื่นๆ ที่เหลืออ้างอิงข้อมูล PM จากหน่วยงานรัฐ

การค้นพบบทความงานวิจัยที่มีการตรวจติดตามปัสสาวะ Urinary metabolite วัดสารมลพิษ polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) จากคนงานอุตสาหกรรม มีงานวิจัยจำนวน 4 ฉบับ (บทความอ้างอิง 18,26,29,31) วัดค่า PAHs จากปัสสาวะผู้เข้าร่วมการทดสอบของแต่ละบุคคล บทความงานวิจัยจำนวน 1 ฉบับ (24) มีการคำนวนค่าการสัมผัสกับสารมลพิษ PAHs จากการวัดจากจุดที่อยู่อาศัย บทความที่ติดตามสารมลพิษอื่นๆ เช่น สาร benzene จำนวน 2 ฉบับ (บทความอ้างอิง 16,23)  สาร toluene จำนวน 2 ฉบับ (บทความอ้างอิง 16,23) สารที่เกิดจากการเชื่อมโลหะจำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 25) มีการค้นพบบทความที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับการสัมผัสกับตะกั่วและแคดเมียมโดยการตรวจเลือด จำนวน 3 ฉบับ (บทความอ้างอิง 32,38,40) ในรกจำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 28) มีการตรวจติดตามทหารผ่านศึกที่สัมผัสกับ black carbon เป็นเวลานาน จำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 30) และ มีการตรวจติดตามผลของมลพิษที่เกิดจากครัวเรือนต่อค่าความยาวของเทโลเมียร์จำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 27)

การค้นพบบทความงานวิจัยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลของมลพิษทางอากาศต่อความยาวของเทโลเมียร์ การตรวจจากเม็ดเลือดขาวมีจำนวนงานวิจัยจำนวน 19 ฉบับ ในจำนวนนั้น 15 ฉบับ (บทความอ้างอิง 18,19,23-27,30-33,36-38,40) พบความยาวของเทโลเมียร์ของผู้รับมลพิษสั้นกว่าคนปกติ บทความจำนวน 1 ฉบับ (บทความอ้างอิง 22) ที่ระบุผลการทดลองไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือมลพิษอาจส่งผลให้เทโลเมียร์สั้นหรือยาวกว่าคนปกติ และในทางกลับกันมีจำนวนบทความ 2 ฉบับ (บทความอ้างอิง 16,20) ที่พบว่าความยาวของเทโลเมียร์ของผู้สัมผัสกับมลพิษยาวกว่าคนปกติ และบทความ 1 ฉบับที่เหลือพบว่าการได้รับมลพิษระยะสั้นไม่มีผลต่อความยาวเทโลเมียร์ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (บทความอ้างอิง 39) การตรวจความยาวเทโลเมียร์จากน้ำลายพบว่ามี 1 บทความที่ทำการตรวจยาวเทโลมียร์ในเด็กที่รับมลพิษมีความยาวของเทโลเมียร์มากกว่าคนปกติ บทความงานวิจัยที่ตรวจจากตัวอย่าวอื่นๆ ได้แก่ ตรวจความยาวเทโลเมียร์จากรก (บทความอ้างอิง 17,28) ตรวจความยาวเทโลเมียร์จาก buccal cells (บทความอ้างอิง 21,34) และการตรวจจากสเปิร์ม (บทความอ้างอิง 29) ทุกๆงานวิจัยดังกล่าวพบว่าผูที่รับมลพิษทางอากาศมีผลทำให้เทโลเมียร์สั้นกว่าคนปกติ (ภาพที่ 3)

การค้นพบบทความงานวิจัยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลของมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ค่าความยาวของเทโลเมียร์จากการได้รับมลพิษทางอากาศจากการจราจรบนท้องถนน โดยความยาวของเทโลเมียร์ทั้งจากเม็ดเลือดขาว (บทความอ้างอิง 23,24) และ รก (บทความอ้างอิง 17) มีการสั้นลงเมื่อมีการสัมผัสกับมลพิษจากท้องถนน ซึ่งแต่ละงานวิจัยมีการวัดค่ามลพิษจากแหล่งกำเนิดสารพิษ benzene สาร toluene สารจากท่อไอเสีย PAHs และ อื่นๆ วัดจากสภาวะบนท้องถนน แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่ให้ผลไม่สอดคล้องกัน เช่น คนงานที่มีการใช้สาร benzene (บทความอ้างอิง 16) คนขับรถบรรทุก (บทความอ้างอิง 22) ที่มีค่าความยาวเทโลเมียร์ยาวกว่าคนปกติเมื่อมีการสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 PM10 และฝุ่นคาร์บอน ในวันทำงาน แต่หลังจากเวลาผ่านไป 14 วันเทโลเมียร์จะสั้นลง เช่นดียวกับเด็กในลอนดอนที่มีการสัมผัสกับมลพิษบนท้องถนนมีค่าความยาวของเทโลเมียร์จากน้ำลายยาวกว่าคนปกติ (บทความอ้างอิง 35)

มีการรายงานค่าความยาวของคนงานผลิตตู้โค้กที่ประเทศจีน (บทความอ้างอิง 18) และโปแลนด์ (บทความอ้างอิง 31) ว่ามีค่าความยาวสั้นกว่าคนปกติ กลุ่มคนดังกล่าวเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับสาร PAHs คนงานที่ทำงานในโรงงานยาง (บทความอ้างอิง 26) แบตเตอรี่ (บทความอ้างอิง 38) หม้อน้ำ (บทความอ้างอิง 37) เชื่อมโลหะ (บทความอ้างอิง 25) และโรงงานซ่อมรถ (บทความอ้างอิง 21) ในทุกๆ บทความงานวิจัยระบุว่าเทโลเมียร์มีความสั้นลงกว่าปกติ แต่ในทางกลับกันในคนงานแร่เหล็กมีความยาวกว่าคนปกติเมื่อทำงานติดต่อกัน 3 วัน (บทความอ้างอิง 20)

การศึกษาการสัมผัสกับสารมลพิษในระยะอันสั้น แนวโน้วการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของความยาวเทโลเมียร์มีผลแตกต่างออกไปจากการสัมผัสกับสารมลพิษระยะยาว วารสารงานวิจัย (บทความอ้างอิง 33) ระบุการได้รับสารมลพิษ PM2.5 จำนวน 5 µg/m3 เป็นเวลานาน มีผลทำให้เทโลเมียร์สั้นลง 16.8% จากประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับวารสารงานวิจัยฉบับ (บทความอ้างอิง 30) ที่ประชากรผู้สูงอายุมีความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง 7.6% เมื่อได้รับสารมลพิษ black carbon ความเข้มข้น 0.25 µg/m3 เป็นเวลานาน วารสารฉบับ (บทความอ้างอิง 32) มีการค้นพบเด็กที่มีสารตะกั่วในเลือดสูงมีความยาวของเทโลเมียร์สั้นกว่าปกติ แต่รายงานฉบับอื่นๆ (บทความอ้างอิง 28,40) ให้ผลการทดลองที่ไม่ตรงกันโดยพบว่าตะกั่วไม่มีผลต่อความยาวของเทโลเมียร์ แต่เป็นแคดเมียมที่ส่งผลให้ความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง วารสารฉบับ (บทความอ้างอิง 19) รายงานหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยใกล้กับโรงเผาขยะซึ่งมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารมลพิษ เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมจัดการขยะไม่ถูกต้องมีผลทำให้มีขยะปนเปื้อนมายังที่อยู่อาศัย มีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์ดังกล่าวมีความยาวของเทโลเมียร์สั้นกว่าปกติ การรายงานของกลุ่มหญิงที่มีการสูดดมควันในครัวเรือนซึ่งประกอบไปด้วยมลพิษ PM2.5 และ black carbon (บทความอ้างอิง 34) พบว่าหญิงกลุ่มดังกล่าวมีความยาวเทโลเมียร์สั้นกว่าหญิงปกติทั่วไปถึง 43% สอดคล้องกับรายงานฉบับ (บทความอ้างอิง 27) ที่มีรายงานการค้นพบผลจากการสัมผัสการสูดดมเชื้อเพลิงในครัวเรือนส่งผลต่อการสั้นลงของเทโลเมียร์ แต่มีความไม่สอดคล้องกับรายงานฉบับ (บทความอ้างอิง 39) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่การสัมผัสกับแก๊สและฝุ่น PM ระยะสั้นไม่มีผล่อค่าความยาวเทโลเมียร์

ผลการประเมิณโดยเครื่องมือ Newcastle-Ottawa Quality Assessment Scale พบงานวิจัย 10 ฉบับ  (วารสารอ้างอิง 19,29,30,32,34-37,39,40) มีการประเมิณการให้คะแนนมากกว่า 7 stars และอีก 15 บทความ  (16-18,20-28,31,33,38) การประเมิณการให้คะแนน 4-6 stars

ตารางที่ 1 สรุปวารสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลบทความอ้างอิงฉบับที่ 16-40

คำอธิบายตัวย่อที่ใช้ในตาราง

BC, black carbon; CDC, centers for disease control; CS2, carbon disulphide; EC, elemental carbon; KORA F4, 4th follow-up of the Cooperation for Health Research in the Region of Augsburg; MMqPCR, Monochrome Multiplex Quantitative Polymerase Chain Reaction; NHANES, National Health and Nutrition Examination Survey; NOx , nitrogen oxides; PAHs, polycyclic aromatic hydrocarbons; PM, particulate matter; qPCR, quantitative real-time polymerase chain reaction; T/S ratio, the ratio of telomere repeat copy number to single copy gene copy number

ภาพที่ 2 แหล่งของตัวอย่างในการใช้ตรวจความยาวของเทโลเมียร์, ภาพ 2A อัตราจำนวนงานวิจัยที่วัดความยาวของเทโลเมียร์ โดยส่วนมาก 76% วัดความยาวของเทโลเมียร์จากเม็ดเลือดขาว Leukocyte และงานวิจัยฉบับอื่นๆ จากตัวอย่างของ buccal cell, รก (placenta), sperm และ น้ำลาย, 2B อัตราจำนวนของอาสาสมัครที่วัดความยาวของเทโลเมียร์ โดยส่วนมาก 87.6% ของอาสาสมัครวัดความยาวเทโลเมียร์จากเม็ดเลือดขาว 3.7% จากรก 3.7% จาก sperm 2.8% จากน้ำลาย และ 2.2% จาก buccal cell

ตารางที่ 2 ข้อมูลบทความอ้างอิง 16-40 และการค้นพบความเปลี่ยนแปลงของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อค่าความยาวของเทโลเมียร์

คำอธิบายตัวย่อที่ใช้ในตาราง

1-OHNap, 1-hydroxynapthalene; 1-OHPyr, 1-hydroxypyrene; 95% CI, 95% confidence intervals; BC, black carbon; BLB, body lead burden; BLL, lead levels in blood; EC, elemental carbon; hTERT, Human Telomerase Reverse Transcriptase; IQR, interquartile range; LTL, leukocyte telomere length; mtDNA, mitochondrial DNA; PAHs, polycyclic aromatic hydrocarbons; Pb, ตะกั่ว (Lead); PM, particulate matter; STL, ค่าความยาวของเทโลเมียร์จาก sperm (sperm telomere length); TL, ค่าความยาวเทโลเมียร์ (telomere length); ULL, ค่าระดับตะกัวในปัสสาวะ (lead levels in urine)

ภาพที่ 3 ผลของมลพิษทางอากาศต่อค่าความยาวของเทโลเมียร์, 3A อ้างอิงจากจำนวนวารสาร พบ 20 บทความจากจำนวนทั้งหมด 25 บทความ คิดเป็น 80% มีผลของค่าความยาวเทโลเมียร์สั้นลงเมื่อมีการได้รับมลพิษทางอากาศ พบ 3 บทความ คิดเป็น 12% ค่าความยาวเทโลเมียร์ยาวกว่าปกติ และ พบ 1 บทความ มีผลทั้งยาวและสั้นกว่าปกติ  และอีกหนึ่งบทความไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญโดยบทความดังกล่าวใช้อาสาสมัครที่มีอาการป่วยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 3B อ้างอิงจากจำนวนอาสาสมัคร โดย 94.8% ของอาสาสมัครที่ได้รับผลจากมลพิษทางอากาศมีค่าความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง

ตารางที่ 3 ผลการประเมินการให้คะแนนของแต่ละบทความ

อภิปรายผลการทดลอง

บทความที่รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลฉบับนี้เป็นบทความแรกที่มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ โดยข้อมูลส่วนมากจากการสืบค้น (80% จากบทความทั้งหมด และ 94.8% จากผู้เข้าร่วมรับการทดสอบทั้งหมด) พบว่ามลพิษทางอากาศมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความยาวของเทโลเมียร์สั้น โดยผลในการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ที่วัดจากเม็ดเลือดขาว และน้ำลายนั้นมีผลลัพธ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน แต่ในขณะที่ความยาวของเทโลเมียร์ที่วัดจาก buccal cells, placental tissue และ sperm เทโลเมียร์มีความยาวที่สั้นกว่าปกติหลังได้รับการสัมผัสกับมลพิษในทุกผลการทดลอง ถึงแม้ว่าในทุกผลงานวิจัยใช้วิธี Cawthon’s protocol ในการวัดความยาวเทโลเมียร์และผลการประเมิณโครโมโซมทั้งหมดจากเม็ดเลือดขาว แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความยาวของเทโลเมียร์เชิงปริมาณ

เทคนิค Cawthon’s protocol ถูกใช้ในการวัดความยาวของเทโลเมียร์ในทุกๆ บทความงานวิจัยที่รวบรวมข้อมูล ซึ่งเทคนิคดังกล่าวเริ่มถูกใช้ในปี ค.ศ. 2002 เทคนิคนิคนี้ต้องการใช้ตัวอย่างดีเอ็นเอในเพียงปริมาณน้อยในการตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ เทคนิคนี้ทำให้สามารถตรวจวัดเชิงระบาดวิทยาในจำนวนขนาดประชากรได้อย่างง่ายดายและกว้างขวาง โดยในปี ค.ศ. 2009 เทคนิค Cawthon’s protocol มีการพัฒนาเทคนิคโดยปรับข้อจำกัดออกบางประการและปรับเปลี่ยนชื่อเป็น monochrome multiplex quantitative PCR ในจำนวนบทความที่ค้นคว้า มีบทความจำนวน 6 ฉบับ (16,17,27,33,35,38) ที่ใช้เทคนิคใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ในขณะที่บทความที่เหลือยังใช้เทคนิค Cawthon’s protocol แบบต้นฉบับ แต่ทั้งนี้ผลจากการใช้เทคนิคทั้งสองรูปแบบไม่มีความต่างกัน

เทโลเมียร์เป็นตำแหน่งดีเอ็นเอที่อยู่บริเวณส่วนปลายของโครโมโซม ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชุดตำแหน่งคู่เบสซ้ำๆ ของดีเอ็นเอ (tandem repetitive DNA) ซึ่งเทโลเมียร์นั้นมีความสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของตำแหน่งสำคัญในโครโมโซม ทั้งนี้เนื่องจากในการแบ่งเซลล์แต่ละครั้งโครโมโซมจะมีกระบวนการทางธรรมชาติที่ถูกทำให้สั้นลง โดยจะสั้นลงประมาณ 30-100 คู่เบส ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดของกระบวนการความเสื่อมของเซลล์ โดยในลำดับดีเอ็นเอบริเวณของเทโลเมียร์มีชุดลำดับซ้ำของรหัส TTAGGG nucleotide อยู่เป็นจำนวนมากรวมถึงมีโปรตีนบางชนิดอยู่ ซึ่งลำดับซ้ำ TTAGGG ส่งผลให้ตำแหน่งดีเอ็นเอบนเทโลเมียร์ มีดีเอ็นเอที่มีเบสชนิด guanine (ตำแหน่ง G) สูง ซึ่งการที่มีเบส G ในปริมาณมากส่งผลให้มีความไวต่อการตอบสนองความเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งการได้รับการบาดเจ็บจากความไวต่อการตอบสนองดังกล่าวสามารถสะสมและนำไปสู่เทโลเมียร์ถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ ชนิดตัวการสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชั่นนั้น ได้แก่ สารอนุมูลอิสระชนิด reactive oxygen species (ROS) หากไม่มีกระบวนการกำจัดสารอนุมูลอิสระภายในเซลล์อย่างเพียงพอ เทโลเมียร์ก็จะมีการถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่กระบวนการสั้นลงของเทโลเมียร์นั้นไม่สามารถย้อนกลับจนทำให้มีความยาวดังเดิมได้ มีตัวการศึกษาการใช้เทโลเมียร์เปรียบเทียบกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

ในการรวบรวมข้อมูลในวารสารงานวิจัยฉบับนี้ การที่มีเทโลเมียร์สั้นลงมักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับมลพิษหรือมีปัจจัยการอยู่อาศัยที่เสี่ยงกับมลพิษ โดยในการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระยะเวลายาวนาน การศึกษาคนงานในโรงงานแบตเตอรี่ที่มีความเสี่ยงในการได้รับสารตะกั่ว โดยมีการตรวจปัสสาวะคนงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งมีการค้นพบว่ายิ่งมีการพบสารตะกั่วมากยิ่งมีผลให้พบความยาวของเทโลเมียร์สั้นกว่าปกติ สารตะกั่วสามารถสะสมในกระดูก

ตัวอย่างที่ใช้ตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ประเภท จากเม็ดเลือดขาว 10,568 คน จากรกจำนวน 450 รก จากสเปิร์มจำนวน 444 คน จากน้ำลายจำนวน 333 คน และจาก buccal cell จำนวน 263 คน ถึงแม้ว่าค่าความยาวของเทโลเมียร์ของแต่ละตัวอย่างแต่ละประเภทจะไม่สอดคล้องกัน แต่อัตราการสั้นลงของเทโลเมียร์มีความคล้ายคลึงกัน ถึงแม้ว่าความยาวของเทโลเมียร์จากแหล่งของเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่มีความสอดคล้องกัน แต่อัตราการสั้นลงของความยาวของเทโลเมียร์มีกลับมีความคล้ายคลึงกันในเนื้อเยื่อ adult somatic cells การหาความยาวของเทโลเมียร์จากเม็ดเลือดขาวเป็นวิธีที่นิยมอย่างแพร่หลายอันเนื่องมาจากวิธีการเก็บตัวอย่างที่ง่าย อย่างไรก็ตามการเก็บเซลล์จาก buccal cells หรือเซลล์จากน้ำลายเพื่อนำมาใช้ในการตรวจหาความยาวของเทโลเมียร์กลับเป็นวิธีที่ง่ายกว่า เทคนิคในการเก็บเซลล์ข้างต้นเป็นวิธีที่ไม่ต้องลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย (non-invasive) หรือมีราคาแพง การใช้เซลล์จากรกในการนำมาศึกษาสามารถทำได้อย่างจำกัดอันเนื่องมาจากต้องมีการให้ความสำคัญกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ การหาความยาวของเทโลเมียร์โดยใช้ตัวอย่างจาก sperm นำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์สุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศชาย         

            มลพิษในอากาศมีด้วยกันหลายชนิด ประกอบด้วย ฝุ่น PM ของเหลว และ แก๊ส ซึ่งการได้รับมลพิษในอากาศอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อความยาวของเทโลเมียร์ ซึ่งฝุ่น PM มีจำนวนหลายชนิด เช่น PM0.25, PM2.5, BC, particle bound metals และ PAHs พบว่ามลพิษดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้เกิดสภาวะความเครียดออกซิเดชั่น มีรายงานระบุว่าการได้รับ PM2.5 มีผลทำให้เทโลเมียร์สั้นลง และมีการทดสอบว่าการได้รับ PM2.5 ในทุกๆ ความเข้มข้น 1 mg/m3 ต่อชั่วโมง การสะสม PM2.5 จากการทดลองส่งผลให้ความยาวของเทโลเมียร์สั้นลง 0.04 หน่วย

            โลหะหนักมีส่วนในการกระตุ้นให้เทโลเมียร์มีความผิดปกติได้หลายทาง โดยแคดเมียมเป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในกกระผลิตสารอนุมูลอิสระและรลกวนกระบวนการต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย อีกทั้งยังป้องกันกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอในร่างกาย  และโลหะหนักชนิดอื่นๆ มีความสามารถในการกระตุ้นให้หลั่ง inflammatory cytokines มีการศึกษาพบว่าเทโลเมียร์มีความยาวกว่าของคนงานเหมืองเหล็กที่ได้รับ PM ในปริมาณมากเป็นเวลา 3 วันโดยนับจากวันแรกก่อนเริ่มงาน

            รายงาน 2 ฉบับ มีการแสดงข้อมูลของผู้ได้รับสารพิษฉับพลันของคนงานเมื่อที่สัมผัสกับสารเบนซีนเป็นเวลาทุกๆ 5 วัน ยาวนาน 2 สัปดาห์ รวมถึงพนักงานขับรถบรรทุกที่ได้รับสารมลพิษ พบว่ามีความยาวเทโลเมียร์มากกว่ากลุ่มควบคุม เนื่องจากยังมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำให้เทโลเมียร์ยาวกว่าคนปกติเมื่อรับสารมลพิษ แต่ทั้งนี้ผลการทดลองจากรายงานไม่ตรงตามรายงานฉบับอื่นๆ ซึ่งในอนาคตผู้รายงานจะทำการแสดงผลที่แท้จริงจากมลพิษทางอากาศต่อความยาวเทโลเมียร์

            และเมื่อไม่นานมานี้มีงานวิจัยฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์หลังจากวารสารรวมข้อมูลฉบับนี้จะสรุป ซึ่งในงานวิจัยวิเคราะห์ความของเทโลเมียร์ที่ได้จากเม็ดเลือดที่เก็บจากสายสะดือของทารกหลังคลอดใหม่ ซึ่งมีการค้นพบว่ามารดาที่ขณะตั้งครรภ์เมื่อมีการอยู่อาศัยใกล้เคียงกับโรงงานถ่านหินและมีการสัมผัสกับสารมลพิษ PAH ค่าความยาวเทโลเมียร์จะมีความสั้นกว่าปกติ โดยสามารถระบุได้ว่าขณะตั้งครรภ์การที่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศจะเป็นการรักษาสุขภาพของทารกได้

บทสรุป

            งานวิจัยส่วนมากที่ตีพิมพ์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูลการสัมผัสสารมลพิษทางอากาศ ค่าความยาวของเทโลเมียร์ของผู้ที่ได้รับมลพิษจะมีความสั้นกว่าคนปกติ โดยการรายงานผลจากหลายงานวิจัยที่เคยเผยแพร่มาอาจจำเป็นต้องกำหนดขนาดของผลกระทบของมลพิษทางอากาศเพื่อศึกษาการส่งผลต่อค่าความยาวของเทโลเมียร์ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. Lim SS, Vos T, Flaxman AD, et al. A comparative risk assessment of burden of disease and injury attributable to 67 risk factors and risk factor clusters in 21 regions, 1990-2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010. Lancet 2012; 380:2224-60.

2. Lelieveld J, Evans JS, Fnais M, et al. The contribution of outdoor air pollution sources to premature mortality on a global scale. Nature 2015; 525:367-71.

3. Brook RD. Cardiovascular effects of air pollution. Clin Sci (Lond) 2008; 115:175-87.

4. Brook RD, Rajagopalan S, Pope CA 3rd, et al. Particulate matter air pollution and cardiovascular disease: An update to the scientific statement from the American Heart Association. Circulation 2010; 121:2331-78.

5. Brook RD, Franklin B, Cascio W, et al. Air pollution and cardiovascular disease: a statement for healthcare professionals from the Expert Panel on Population and Prevention Science of the American Heart Association.

Circulation 2004; 109:2655-71.

6. D’Mello MJ, Ross SA, Briel M, et al. Association between shortened leukocyte telomere length and cardiometabolic outcomes: systematic review and meta-analysis. Circ Cardiovasc Genet 2015;8:82-90.

7. Brouilette S, Singh RK, Thompson JR, et al. White cell telomere length and risk of premature myocardial infarction. Arterioscler Thromb Vasc Biol 2003; 23:842-6.

8. Fitzpatrick AL, Kronmal RA, Gardner JP, et al. Leukocyte telomere length and cardiovascular disease in the cardiovascular health study. Am J Epidemiol 2007; 165:14-21.

9. Samani NJ, Boultby R, Butler R, et al. Telomere shortening in atherosclerosis. Lancet 2001; 358:472-3.

10. van der Harst P, van der Steege G, de Boer RA, et al. Telomere length of circulating leukocytes is decreased in patients with chronic heart failure. J Am Coll Cardiol 2007; 49:1459-64.

11. Demissie S, Levy D, Benjamin EJ, et al. Insulin resistance, oxidative stress, hypertension, and leukocyte telomere length in men from the Framingham Heart Study. Aging Cell 2006; 5:325-30.

12. Said MA, Eppinga RN, Hagemeijer Y, et al. Telomere Length and Risk of Cardiovascular Disease and Cancer. J Am Coll Cardiol 2017; 70:506-7.

13. Kelly FJ, Fussell JC. Linking ambient particulate matter pollution effects with oxidative biology and immune responses. Ann N Y Acad Sci 2015; 1340:84-94.

14. Moher D, Liberati A, Tetzlaff J, et al. Preferred reporting items for systematic reviews and meta-analyses: the PRISMA statement. PLoS Med 2009;6: e1000097.

15. Wells GA, Shea B, O’Connell D, et al. The Newcastle Ottawa Scale (NOS) for assessing the quality of nonrandomised studies in meta-analyses 2009. Available online: http://www.ohri.ca/programs/clinical_

epidemiology/oxford.asp

16. Bassig BA, Zhang L, Cawthon RM, et al. Alterations in leukocyte telomere length in workers occupationally

exposed to Benzene. Environ Mol Mutagen 2014; 55:673-8.

17. Bijnens E, Zeegers MP, Gielen M, et al. Lower placental telomere length may be attributed to maternal residential traffic exposure; a twin study. Environ Int 2015; 79:1-7.

18. Bin P, Leng SG, Cheng J, et al. Association between telomere length and occupational polycyclic aromatic hydrocarbons exposure. Zhonghua Yu Fang Yi Xue Za Zhi 2010; 44:535-8.

19. De Felice B, Nappi C, Zizolfi B, et al. Telomere shortening in women resident close to waste landfill sites.

Gene 2012; 500:101-6.

20. Dioni L, Hoxha M, Nordio F, et al. Effects of short-term exposure to inhalable particulate matter on telomere length, telomerase expression, and telomerase methylation in steel workers. Environ Health Perspect. 2011; 119:622-7.

21. Eshkoor SA, Ismail P, Rahman SA, et al. Does GSTP1 polymorphism contribute to genetic damage caused by ageing and occupational exposure? Arh Hig Rada Toksikol 2011; 62:291-8.

22. Hou L, Wang S, Dou C, et al. Air pollution exposure and telomere length in highly exposed subjects in Beijing, China: a repeated-measure study. Environ Int 2012; 48:71-7.

23. Hoxha M, Dioni L, Bonzini M, et al. Association between leukocyte telomere shortening and exposure to traffic pollution: a cross-sectional study on traffic officers and indoor office workers. Environ Health 2009; 8:41.

24. Lee EY, Lin J, Noth EM, et al. Traffic-Related Air Pollution and Telomere Length in Children and Adolescents Living in Fresno, CA: A Pilot Study. J Occup Environ Med 2017; 59:446-52.

25. Li H, Hedmer M, Wojdacz T, et al. Oxidative stress, telomere shortening, and DNA methylation in relation to low-to-moderate occupational exposure to welding fumes. Environ Mol Mutagen 2015; 56:684-93.

26. Li H, Jonsson BA, Lindh CH, et al. N-nitrosamines are associated with shorter telomere length. Scand J Work Environ Health 2011; 37:316-24.

27. Lin N, Mu X, Wang G, et al. Accumulative effects of indoor air pollution exposure on leukocyte telomere length among non-smokers. Environ Pollut 2017; 227:1-7.

28. Lin S, Huo X, Zhang Q, et al. Short Placental Telomere was Associated with Cadmium Pollution in an

Electronic Waste Recycling Town in China. PLoS One 2013;8: e60815.

29. Ling X, Zhang G, Chen Q, et al. Shorter sperm telomere length in association with exposure to polycyclic aromatic hydrocarbons: Results from the MARHCS cohort study in Chongqing, China and in vivo animal experiments. Environ Int 2016; 95:79-85.

30. McCracken J, Baccarelli A, Hoxha M, et al. Annual Ambient Black Carbon Associated with Shorter Telomeres in Elderly Men: Veterans Affairs Normative Aging Study. Environ Health Perspect 2010; 118:1564-70.

31. Pavanello S, Pesatori AC, Dioni L, et al. Shorter telomere length in peripheral blood lymphocytes of workers exposed to polycyclic aromatic hydrocarbons. Carcinogenesis 2010; 31:216-21.

32. Pawlas N, Płachetka A, Kozłowska A, et al. Telomere length in children environmentally exposed to low to-moderate levels of lead. Toxicol Appl Pharmacol

2015; 287:111-8.

33. Pieters N, Janssen BG, Dewitte H, et al. Biomolecular Markers Within the Core Axis of Aging and Particulate Air Pollution Exposure in the Elderly: A Cross-Sectional Study. Environ Health Perspect 2016; 124:943-50.

34. Shan M, Yang X, Ezzati M, et al. A feasibility study of the association of exposure to biomass smoke with vascular function, inflammation, and cellular aging. Environ Res 2014; 135:165-72.

35. Walton RT, Mudway IS, Dundas I, et al. Air pollution, ethnicity and telomere length in east London schoolchildren: An observational study. Environ Int 2016; 96:41-7.

36. Ward-Caviness CK, Nwanaji-Enwerem JC, Wolf K, et al. Long-term exposure to air pollution is associated with biological aging. Oncotarget 2016; 7:74510-25.

37. Wong JY, De Vivo I, Lin X, et al. Cumulative PM2.5 exposure and telomere length in workers exposed to welding fumes. J Toxicol Environ Health A 2014; 77:441-55.

38. Wu Y, Liu Y, Ni N, et al. High lead exposure is associated with telomere length shortening in Chinese battery manufacturing plant workers. Occup Environ Med 2012; 69:557-63.

39. Xia Y, Chen R, Wang C, et al. Ambient air pollution, blood mitochondrial DNA copy number and telomere length in a panel of diabetes patients. Inhal Toxicol 2015; 27:481-7.

40. Zota AR, Needham BL, Blackburn EH, et al. Associations of cadmium and lead exposure with leukocyte telomere length: Findings from National Health And Nutrition Examination Survey, 1999-2002. Am J Epidemiol

2015; 181:127-36.

41. Cawthon RM. Telomere length measurement by a novel monochrome multiplex quantitative PCR method. Nucleic Acids Res 2009;37:e21.

42. Cawthon RM. Telomere measurement by quantitative PCR. Nucleic Acids Res 2002;30:e47.

43. Mather KA, Jorm AF, Parslow RA, et al. Is telomere length a biomarker of aging? A review. J Gerontol A Biol Sci Med Sci 2011; 66:202-13.

44. Levy MZ, Allsopp RC, Futcher AB, et al. Telomere end-replication problem and cell aging. J Mol Biol

1992; 225:951-60.

45. Blackburn EH. Structure and function of telomeres. Nature 1991; 350:569-73.

46. Holohan B, Wright WE, Shay JW. Telomeropathies: An emerging spectrum disorder. J Cell Biol 2014; 205:289-99.

47. Grahame TJ, Schlesinger RB. Oxidative stress-induced telomeric erosion as a mechanism underlying airborne particulate matter-related cardiovascular disease. Part Fibre Toxicol 2012; 9:21.

48. Ornish D, Lin J, Chan JM, et al. Effect of comprehensive lifestyle changes on telomerase activity and telomere length in men with biopsy-proven low-risk prostate cancer: 5-year follow-up of a descriptive pilot study. Lancet Oncol 2013; 14:1112-20.

49. Montpetit AJ, Alhareeri AA, Montpetit M, et al. Telomere length: a review of methods for measurement. Nurs Res 2014; 63:289-99.

50. Daniali L, Benetos A, Susser E, et al. Telomeres shorten at equivalent rates in somatic tissues of adults. Nat Commun 2013; 4:1597.

51. Stanek LW, Brown JS, Stanek J, et al. Air pollution toxicology–a brief review of the role of the science in

shaping the current understanding of air pollution health risks. Toxicol Sci 2011;120 Suppl 1:S8-27.

52. Lee BJ, Kim B, Lee K. Air pollution exposure and cardiovascular disease. Toxicological research.

2014; 30:71-5.

53. Lee MW, Chen ML, Lung SC, et al. Increase of urinary concentrations of 8-hydroxy-2′-deoxyguanosine in diesel exhaust emission inspector exposed to polycyclic aromatic hydrocarbons. Int Arch Occup Environ Health 2012; 85:273-82.

54. Sauvain JJ, Setyan A, Wild P, et al. Biomarkers of oxidative stress and its association with the urinary reducing capacity in bus maintenance workers. J Occup Med Toxicol 2011; 6:18.

55. Delfino RJ, Staimer N, Tjoa T, et al. Circulating biomarkers of inflammation, antioxidant activity, and platelet activation are associated with primary combustion aerosols in subjects with coronary artery disease. Environ Health Perspect. 2008; 116:898-906.

56. Nair AR, Degheselle O, Smeets K, et al. CadmiumInduced Pathologies: Where Is the Oxidative Balance Lost (or Not)? Int J Mol Sci 2013; 14:6116-43.

57. Giaginis C, Gatzidou E, Theocharis S. DNA repair systems as targets of cadmium toxicity. Toxicol Appl Pharmacol 2006; 213:282-90.

58. Dong W, Simeonova PP, Gallucci R, et al. Toxic metals stimulate inflammatory cytokines in hepatocytes through oxidative stress mechanisms. Toxicol Appl Pharmacol 1998; 151:359-66.

59. Ciarrocca M, Rosati MV, Tomei F, et al. Is urinary 1-hydroxypyrene a valid biomarker for exposure to air pollution in outdoor workers? A meta-analysis. J Expo Sci Environ Epidemiol 2014; 24:17-26.

60. Perera F, Lin CJ, Qu L, et al. Shorter telomere length in cord blood associated with prenatal air pollution exposure: Benefits of intervention. Environ Int 2018; 113:335-40.

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid