“รังสีร่วมรักษา”วิธีทำลายเนื้องอกในร่างกายที่ผ่าตัดไม่ได้

“รังสีร่วมรักษา”วิธีทำลายเนื้องอกในร่างกายที่ผ่าตัดไม่ได้

อวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ และตับอ่อน มักเกิดมะเร็งได้บ่อย ไม่ว่าจะมาจากอวัยวะนั้น ๆ หรือกระจายมาจากที่อื่นก็ตาม มะเร้งตับที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งของเนื้อตับ รองลงมา คือ มะเร็งระบบทางเดินน้ำดีในตับ ซึ่งพบบ่อยในคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ในตอนแรกมักจะไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยมักเกิดความผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ตาเหลือง และมาพบแพทย์ก็ต่อเมื่อเป็นมากแล้ว จึงไม่สามารถตัดออกให้หายขาดได้ ทำได้เพียงประคับประคอง ไม่ให้ลุกลาม และไม่ให้มีอาการปวดจากก้อนเนื้อมะเร็ง

               วิธีการหนึ่งที่ใช้รักษา คือ ปล่อยก้อนอยู่ในร่างกาย แต่หยุดการเติบโตด้วยการเผาทำลายจากพลังงานที่ส่งผ่านอุปกรณ์นำวิถีด้วยภาพเอกเรย์หรืออัลตราซาวด์ เข้าไปที่ก้อนนั้น ๆ เรียกว่า “Intervention Treatment หรือรังสีร่วมรักษา” การส่งผ่านพลังงานเข้าไปที่ก้อนมะเร็งในร่างกายนั้นทำได้หลายแบบ และหลายชนิดพลังงาน ได้แก่

  1. RFA : Radiofrequency Ablation เป็นการแทงเข็มโลหะเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง และขยายส่วนปลายของอุปกรณ์ให้กางออกเหมือนร่ม แล้วปล่อยคลื่นวิทยุสร้างความร้อนเผาก้อนมะเร็ง แต่มีข้อจำกัด คือ จะทำได้ในรายที่ก้อนมีขนาดไม่เกิน 3 ซม. และไม่ติดกับเส้นเลือดสำคัญ
  2. MWA : Microwave Ablation เป็นการแทงเข็มโลหะเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง และใช้คลื่นไมโครเวฟสร้างความร้อน เผาก้อนมะเร็ง

ทั้ง RFA และ MWA ต่างก็มีข้อจำกัดที่ว่า ถ้าก้อนมะเร็งอยู่ชิดติดกับเส้นเลือดหรือท่อน้ำดี จะไม่สามารถใช้ความร้อนเผาได้ จึงมีการวิจัยเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยก็คือ

  1. IRE : Irreversible Electropolation (Nonoknife หรือ มีดนาโน) : หลักการ คือ การแทงเข็มขั้วไฟฟ้าไปรอบก้อนมะเร็ง 2 – 4 จุด และส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเหนี่ยวนำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่สูงมาก ประมาณ 3,000 โวลต์ ทำให้ส่วนประกอบที่มีประจุไฟฟ้าภายในเซลล์เกิดการแตกตัว และสลายตัวเฉพาะในวงของขั้วไฟฟ้า โดยไม่ได้เกิดความร้อนจึงไม่ทำให้เนื้อเยื่อนอกรัศมีมีขั้วไฟฟ้าถูกทำลาย จึงใช้กับเนื้องอกที่ใกล้เส้นเลือดหรืออยู่ห่างจากเส้นเลือดน้อยกว่า 1 ซม. ได้อย่างค่อนข้างปลอดภัย แต่ข้อพึงระวัง คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่รุนแรงนี้อาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ IRE เริ่มทำการวิจัยและใช้ในอเมริกามามากกว่า 5 ปี จึงขยายสู่ยุโรปและเอเชีย สำหรับประเทศไทยอยู่ในระยะเริ่มใช้ และยังมีราคาที่สูงมากกว่า 2 วิธีข้างต้น
  2. เรายังสามารถส่งผ่านความร้อนจากภายนอก เข้าไปทำลายเนื้องอกในช่องท้องได้ด้วย คลื่นเสียงรวมศูนย์ความเข้มสูงหรือ HIFU (High Intensity Focused Ultrasound) ที่ส่งลำคลื่นเสียงเข้าไปโฟกัสที่ก้อนเนื้องอก ทำให้โมเลกุลของน้ำในก้อนสั่นจนเกิดความร้อนจนเดือด เกิดการขยายตัวแตกระเบิดออก เมื่อทำทั่วทั้งก้อนมะเร็ง ก็เท่ากับเผาทำลายก้อนมะเร็งได้โดยไม่ต้องแทงอุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย ไม่เสี่ยงเลือดออก ใช้ได้กับอวัยวะที่อัลตราซาวด์ได้ เช่น มดลูก ตับและตับอ่อน

วิธีการเหล่านี้ยังสามารถนำมาใช้ผสมผสานกับการรักษาอื่น ๆ เช่น การใช้ยามะเร็ง ยามุ่งเป้า ยาภูมิคุ้มกันบำบัด และการอุดเส้นเลือดตัดท่อน้ำเลี้ยงมะเร็งได้อีกด้วย

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid