สารสกัดจากรก (placenta extracts) ควบคุมการผลิตเม็ดสีผิวเมลานินในเซลล์เมลาโนไซต์ของมนุษย์ผ่านการเปลี่ยนแปลงของการหายใจในระดับเซลล์ของ mitochondria (mitochondrial respiration)

บทคัดย่อ

สารสกัดจากรก (placenta extracts) ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญช่วยทำให้ผิวกระจ่างใสในตลาดเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่น ในบทความผู้วิจัยได้ทำการแสดงความสามารถของสารสกัดจากรกในการควบคุมการยับยั้งหรือการส่งเสริมผลิตเม็ดสีผิว โดยการทดลองผ่านการเพาะเลี้ยงเซลล์เมลาโนไซต์ของมนุษย์ (normal human melanocytes)

การทดลองมีการแบ่งสารสกัดจากรออกเป็นสองรูปแบบ ในรูปแบบแรกเมื่อมีการให้สารสกัดหยาบรวมของสารสกัดจากรกของหมู (porcine placental extract) (ชื่อเรียกของสารสกัดรูปแบบแรกในวารสารนี้ คือ W-PEx) เซลล์ human melanocytes จะมีการผลิตเม็ดสีผิวเมลานินที่ลดลง

ในทางกลับกันผลของสารสกัดรูปแบบที่สองสารสกัดจากรกของหมูชนิดที่ถูกคัดแยกบริสุทธิ์สาร exudate และ สารกลุ่มไขมันไม่ละลายน้ำออก (ชื่อเรียกของสารสกัดรูปแบบที่สองในวารสารนี้ คือ P-PEx)  มีผลทำให้เซลล์ human melanocytes มีการผลิตเม็ดสีผิวเมลานินที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งสารสกัดจากรกชนิดที่สอง P-PEX ทำให้ปริมาณการแสดงออกของเอ็นไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการผลิตเม็ดสีผิวมีการเพิ่มขึ้นตามการผลิตเม็ดสีที่เกิดขึ้นอีกด้วย

การศึกษาด้านเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าการใช้สารสกัดหยาบรวมของสารสกัดจากรกของหมู (W-PEX) ส่งผลให้เซลล์เมลาโนไซต์ของมนุษย์มีการผลิตเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ manganese-dependent superoxide dismutase (MnSOD) ที่เป็นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในออแกเนลล์ mitochondria ภายในเซลล์ อีกทั้งสารสกัดจากรกยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เมลาโนไซต์ อันได้แก่ระบบการหายใจในระดับเซลล์และกระบวนการสลายน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงาน (glycolysis)

ภาพ เซลล์ melanocytes

โดยผลจากการทดลองชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากรกทั้งสองรูปแบบมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวที่แตกต่างกันทั้งในทางการผลิตที่มากขึ้นหรือยังยั้งในการผลิตเม็ดสี และการควบคุมการทำงานของ mitochondria ภายในเซลล์

คำสำคัญและคำอธิบายในบทความ

Melanin คือ เม็ดสีที่สร้างขึ้นจากเซลล์บริเวณผิวหนังชนิดเซลล์ Melanocyte ซึ่งการผลิต Melanin ในปริมาณมากส่งผลทำให้เกิดผิวหนังมีสีเข้ม อาจทำให้ผิวหนังเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ

Melanocyte คือ เซลล์บริเวณผิวหนังมีหน้าที่ในการผลิตเม็ดสี melanin

Mitochondria คือ ออร์แกเนลล์ (Organelle) ชนิดหนึ่งภายในเซลล์ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน ATP ให้กับเซลล์

Placenta Extract คือ สารสกัดจากรก

W-PEx คือ สกัดหยาบรวมของสารสกัดจากรก (Whole placental extracts)

P-PEx คือ สกัดจากรกที่กำจัดสาร exudate และไขมันต่างๆ ออก Partial placental extracts

1. บทนำ

การผลิตเม็ดสีผิวออกมาในปริมาณมากเกินกว่าปกติในบางจุดของผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาต่างๆ ของการดูแลผิวพรรณจนเกิดการหมองคล้ำ เช่น การเกิดฝ้า กระแดด ในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้สารสำคัญหลากหลายชนิดในการป้องกันและฟื้นฟูผิวหมองคล้ำ โดยในจำนวนนั้นสารสกัดจากรกเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางในการช่วยทำให้ผิวกระจ่างใสซึ่งถูกยอมรับโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น

สารสกัดหยาบรวมของสารสกัดจากรก (Whole placental extracts) ประกอบด้วยกรดอะมิโนและเกลือแร่หลากหลายชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิวและส่งเสริมการกำจัดเม็ดสีผ่านการผลัดเซลล์ผิวหนังชั้น epidermis นอกจากนี้ สารสกัดหยาบรวมของสารสกัดจากรกมีผลต่อการกดกระบวนการสร้างเมลานิน (melanogenesis) ผ่านกระบวนการส่งเสริมการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

แต่ในทางกลับกันมีการรายงานระบุสารกลุ่มไขมัน เปปไทด์และโปรตีนบางชนิดในสกัดจากรก ส่งเสริมให้มีการแสดงออกของยีนที่แปลรหัสเป็นเอนไซม์ tyrosinase ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเร่งผลิตเม็ดสีผิว

            ในปัจจุบันมีการรายงานความสัมพันธ์ระหว่างออแกเนลล์ mitochondria ที่อยู่ภายในเซลล์ melanocytes และกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดสีภายในเซลล์ melanocytes เกิดจากกระบวนการ fission และ fusion ของ mitochondrial dynamic แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรายงานของการศึกษาความสัมพันธ์ของสารสกัดจากรกต่อกระบวนการหายใจในระดับเซลล์ของ mitochondria (mitochondrial respiration)

ในวารสารงานวิจัยฉบับนี้ทางผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดจากรกต่อการผลิตเม็ดสีในเซลล์ normal human melanocytes และประเมินความเป็นไปได้ของความเกี่ยวข้องกับหน้าที่การทำงานของ mitochondria  

2. วิธีการทดลอง

2.1 สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง

สารสกัดจากรกของหมู (porcine placental extract) ถูกสกัดจากหมูที่ญี่ปุ่น โดยสารสกัดแรกเป็นสารสกัดหยาบผ่านการย่อยโปรตีนโดย protease และ ให้ความร้อน heat sterilization (W-PEx) และสารสกัดที่สอง สารสกัดผ่านการแยกบริสุทธิ์เพื่อเก็บสารสำคัญที่ละลายในน้ำ (partial water-soluble placenta extracts) และกำจัดสาร exudate และไขมันต่างๆออก (P-PEx) สารสกัดทั้งสองแบบได้รับจาก Japan Bioproducts Industry Co., Ltd. (Tokyo, Japan)

2.2 การเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ใช้ทดสอบสารสกัดจากรก

เซลล์ Normal human epidermal melanocytes ได้รับจากผิวหนังบริเวณจุดหมองคล้ำของเด็กแรกเกิดของ Cascade Biologics (Portland, OR, USA) นำมาเพาะเลี้ยงโดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ 254 (Cascade Biologics) containing a mixture of growth factors (HMGS-2) and a solution of antibiotics plus antimycotics (Sigma-Aldrich Company, St. Louis, MO, USA) ที่สภาวะที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ 37°C, 5% CO2 เซลล์ที่เพาะเลี้ยงถูกทดสอบด้วยสารสกัดจากรก (W-PEx และ P-PEx) ความเข้มข้น 1 mg/mL เป็นเวลา 6 วัน ซึ่งมีการเปลี่ยนอาหารเพาะเลี้ยงทุกๆ 3 วัน

2.3 การวัดปริมาณเม็ดสีผิว melanin จากเซลล์ melanocytes หลังการทดลองการให้สารสกัดจากรก

การวัดปริมาณเม็ดสี melanin ได้จากการนำเซลล์ melanocytes จำนวน 106 เซลล์ บรรจุในหลอดทดลอง Eppendorf ขนาด 1.5 mL นำไปปั่นตกด้วยวิธี centrifugation ความเร็ว 15,000 xg 3 นาที ล้างโดยใช้สารละลาย phosphate-buffered saline (PBS) และเก็บที่อุณหภูมิ -20°C หลังจากนั้นเซลล์ที่เก็บจะถูกนำมาละลายและสกัดในน้ำยาอัตราส่วน 1:1 ของ ethanol-ether เพื่อตกตะกอนเซลล์ เซลล์ที่ได้ถูกนำไปเขย่าผสมให้เข้ากันที่อุณหภูมิ 23°C 30 นาที นำไปปั่นตกอีกครั้งด้วยวิธี centrifugation ความเร็ว 15,000 xg 3 นาที ตะกอนที่ได้จะถูกสกัดอีกครั้งโดยใช้ 200 µL 10% DMSO in 1 mol/L NaOH ที่อุณหภูมิ 80°C โดยการมิกซ์ทุกๆ 5 นาที สารละลายที่ได้ถูกนำไปปั่นด้วยความเร็วรอบต่ำด้วยเครื่อง tabletop centrifuge และแบ่งปริมาณ 100 µL ของเซลล์สกัดลงใน 96-well microplate วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 490 nm และคำนวณค่าปริมาณเม็ดสี melanin ต่อเซลล์เทียบกับกลุ่มควบคุม

2.4 การทำ Western blotting ติดตามโปรตีนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเม็ดสีผิว

ขั้นตอนการสกัดโปรตีนจากเซลล์ Melanocytes ถูกนำมาละลายเป็นเวลา 30 นาทีที่ 4°C ในสารละลาย 0.1 mol/L Tris-HCl buffer, pH 7.4 ที่ผสม 1% Igepal CA-630 (Sigma-Aldrich Company), 0.01% SDS and a complete protease inhibitor mix-ture (Roche Diagnostics GmbH, Mannheim, Germany) จากนั้นนำไปปั่นที่ 15,000 xg 5 นาที 4°C เก็บสารละลายส่วนบนเพื่อใช้เป็นโปรตีนสกัด วัดความเข้มข้นของโปรตีนโดยใช้วิธี BCA protein assay kit (Pierce, Rockford, IL, USA)

ขั้นตอนการแยกโปรตีนและการทำ Western-blot ที่สกัด (7 µg/lane) ถูกผสมใน Laemmli SDS Sample Buffer (2×) (BIO-RAD, Hercules, CA, USA) containing 5% 2-mercaptoethanol ต้มเป็นเวลา 5 นาทีที่ 95°C แยกโปรตีนด้วยวิธี SDS-PAGE โดยใช้ 10% gels (BIO-RAD) จากนั้นทำการย้ายโปรตีนลงบนเมมเบรนโดย electroblotted to PVDF membranes (BIO-RAD) และ PVDF membranes ที่ได้ถูกนำไปผ่านกระบวนการ blocked ในTBS with 1% Casein Blocker (BIO-RAD) เป็นเวลา 1 ชั่วโมงที่ 23°C ตามด้วยการเติม primary antibodies: เพื่อติดตามโปรตีนได้แก่ tyrosinase (αPEP7 h,[10] rabbit polyclonal), manganese-dependent suprtoxide dismutase (MnSOD) (StressMarq,Victoria, British Columbia, SPC-117C/D, rabbit polyclonal), mitochondrial marker TC02 (Abcam, Cambridge, UK, ab3298, mouse monoclonal) และ internal control GAPDH (Abcam, ab9485, rabbit polyclonal), ที่ละลายในสารละลาย TBS with 1% Casein Blocker เป็นเวลา 1 ชั่วโมงที่ 23°C หลังจากนั้นนำไปล้างโดยใช้ TBS-T เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นเติม secondary antibody horseradish peroxidase- linked anti-rabbit or anti-mouse antibody (Abcam) (1:1000) ในสารละลาย TBS-T เป็นเวลา 1 ชั่วโมงที่ 23°C ล้างมากกว่า 3 ครั้งโดยใช้ TBS-T, วัดค่า antibody immunoreactivities โดย ECL-plus Western blot-ting detection kit (BIO-RAD). ใช้ BenchMark prestained protein ladder (BIO-RAD) ในการทำกราฟน้ำหนักของโปรตีนเพื่อเทียบหาขนาดของโปรตีน ระดับการแสดงออกขอองโปรตีนถูกวัดจากความหนาแน่นของแบนด์โดยใช้โปรแกรม Molecular Imager® ChemiDocTM XRS+ with Image LabTM software

2.5 Mitochondrial respiration assay

เซลล์ Melanocytes ถูกเพาะเลี้ยงใน 96-well plates ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสมสารสกัดจากรกชนิด W-PEx หรือ P-PEx ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL เป็นเวลา 6 วัน จากนั้นทำการวิเคราะห์ mitochondrial respiration โดยใช้ Mito Xpress Xtra Oxygen Consumption Assay kit (Luxcel Biosciences, Cork, Ireland) วิธีตามคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิตน้ำยา

2.6 L-Lactate assay

เซลล์ Melanocytes ถูกเพาะเลี้ยงใน 24-well plates ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสมสารสกัดจากรกชนิด W-PEx หรือ P-PEx ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL เป็นเวลา 6 วัน หลังจากนั้นทำการย้ายสารละลายส่วนบน (supernatant) ลงใน 96-well plates เพื่อวัดค่า L-lactate content โดยใช้ Glycolysis Cell-Based Assay kit (Cayman, Ann Arbor, MI, USA) วิธีตามคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิตน้ำยา

2.7 การวิเคราะห์ค่าทางสถิติจากการทดลอง   

การทดลองถูกทดลองโดยการทำ 3 ซ้ำ แยกอิสระต่อกัน ค่าที่ได้จากการทดลองถูวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้วิธีวิเคราะห์ one-way analysis of the Dunnet II test

3. ผลการทดลอง

3.1 ผลของสารสกัดจากรกต่อการควบคุมการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ normal human melanocytes

การทดลองการให้สารสกัดจากรกแบบหยาบ (W-PEx) หรือ สารสกัดจากรกกลุ่มที่มีการแยกสารไขมันออก (P-PEx) โดยแต่ละการทดลองให้ความเข้มข้น 1 mg/mL เป็นเวลา 6 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าการให้สารจากรกแบบสกัดหยาบ (W-PEx) ปริมาณเม็ดสีเมลานินในเซลล์มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีปริมาณ 55.6 ± 7.0% ในขณะที่กลุ่มสารสกัดจากรกกลุ่มที่มีการแยกสารไขมันออก (P-PEx) มีการเพิ่มขึ้นของการสร้างเม็ดสีเมลานิน โดยมีปริมาณ 142.5 ± 7.4% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเซลล์ที่ไม่ได้รับสารสกัด (จาก 100%) (ภาพ 1A) นอกจากนี้ทำการทดลองวัดปริมาณการแสดงออกของ tyrosinase ลดลงในกลุ่มของเซลล์ที่ได้รับสารสกัดจากรกกลุ่ม W-PEx มีการลดลง แต่พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกในกลุ่มของเซลล์ที่ได้รับสารสกัด P-PEx เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเซลล์ที่ไม่ได้รับสารสกัด (ภาพ 1B)

ภาพ 1 ผลของสารสกัดจากรกต่อการควบคุมการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ normal human melanocytes และระดับการแสดงออกของโปรตีนใน mitochondria, ภาพ 1A; เซลล์ Normal human melanocytes ถูกเพาะเลี้ยงในสารสกัดจากรกกลุ่ม (W-PEx, 1 mg/mL), สารสกัดจากรกกลุ่ม (P-PEx, 1 mg/mL) และกลุ่มควบคุม (ctrl) ไม่ได้รับสารสกัด โดยการวัดปริมาณเม็ดสีเมลานินจะถูกวัดค่าเปรียบเทียบโดยกลุ่มควบคุม (ctrl) มีปริมาณเมลานิน 100% ค่าที่วัดได้เกิดจากการทำ 3 ซ้ำ ± SD (**P < 0.01, เทียบจากกลุ่มควบคุม), ภาพ 1B; การวัดการแสดงออกของโปรตีนโดยใช้วิธี Western blotting ซึ่งใช้ primary antibodies ต่อโปรตีน tyrosinase (αPEP 7 h อัตราส่วน 1:5000), MnSOD (อัตราส่วน 1:1000), MTC02 (อัตราส่วน 1:1000) หรือ GAPDH (อัตราส่วน 1:500) ตามลำดับของแบนด์โปรตีน

3.2 การเพิ่มขึ้นของโปรตีนใน mitochondria ในเซลล์ normal human melanocytes ที่ได้รับผลจากการให้สารสกัดจากรก

จากการประเมินความเกี่ยวข้องของหน้าที่การทำงานของ mitochondria จากผลการเหนี่ยวนำโดยสารสกัดจากรกต่อการสร้างเม็ดสีเมลานิน ปริมาณโปรตีนชนิด MnSOD และ MTC02 มีการแสดงออกมากขึ้นในกลุ่มที่มีการให้สารสกัดจากรกกลุ่ม W-PEx ซึ่งโปรตีน MnSOD มีการแสดงออกมากขึ้นอย่างมากถึง 324% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่ MnSOD และ MTC02 ลดลงในกลุ่มที่มีการให้สารสกัดจากรกกลุ่ม P-PEx (ภาพ 1B)

3.3 การควบคุมกระบวนการหายใจในระดับเซลล์ (mitochondrial respiration) และกระบวนการ glycolysis ของเซลล์ normal human melanocytes หลังได้รับสารสกัดจากรก

โดยการให้สารสกัดจากรกกลุ่มสกัดแบบหยาบ (W-PEx) ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL เป็นเวลา 6 วัน พบว่ามีการลดลงของกระบวนการ mitochondrial respiration (ภาพ 2A) แต่มีการเพิ่มขึ้นของกระบวนการ glycolysis (ภาพ 2B) และในทางกลับกัน การให้สารสกัดจากรกกลุ่มสกัดแบบแยกสารกลุ่มไขมันออก (P-PEx) พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของกระบวนการ mitochondrial respiration (ภาพ 2A) และมีการลดลงของกระบวนการ glycolysis (ภาพ 2B)

ภาพ 2B ผลการควบคุมกระบวนการหายใจในระดับเซลล์ (mitochondrial respiration) และกระบวนการ glycolysis ของเซลล์ normal human melanocytes หลังได้รับสารสกัดจากรก, 2A; อัตราการใช้ออกซิเจนใช้ในการวัดระดับกระบวนการ mitochondrial respiration ภายหลังจากให้สารสกัดจากรกกลุ่ม W-PEx หรือ P-PEx, 2B ปริมาณ Lactate ใช้ระบุกระบวนการเกิดปฏิกิริยา glycolysis ในเซลล์ normal human melanocytes ภายหลังจากให้สารสกัดจากรกกลุ่ม W-PEx หรือ P-PEx

อภิปรายผลการทดลอง

ในปัจจุบัน มีการรายงานผลของการใช้สารสกัดจากรก (placenta extract) ต่อการเกิดกระบวนการผลิตเม็ดสีผิว (melanogenesis) หลายฉบับ โดยสารสกัดรากรกของหมู (porcine placental extract) มีผลการรายงานโดยการศึกษาในระดับเซลล์ในหลอดทดลองว่าสามารถยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิวได้ (3) ในขณะที่การใช้โปรตีน เปปไทด์ และไขมันที่สกัดจากรกของมนุษย์มีผลส่งเสริมให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิว (5,11) โดยในวารสารงานวิจัยฉบับนี้ได้แสดงผลของสารสกัดรากรกของหมูซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญที่ส่งผลทั้งในทางการลด และการเพิ่มขึ้นของกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว ซึ่งผลการทดลองที่ขัดแย้งกันอาจเกิดขึ้นจากลักษณะวิธีการสกัดสารจากรกด้วยการสกัดคัดแยกสารที่แตกต่างกัน ส่งผลให้สารออกฤทธิ์ที่สำคัญมีความแตกต่างกันผลต่อกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวจึงแต่ต่างกัน โดยที่แหล่งของรกที่นำมาสกัดจากสิ่งมีชีวิตชนิดที่แตกต่างกันอาจไม่มีผลต่อกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว

            จากผลการทดลองที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ superoxide dismutase (SOD) มีการรายงานก่อนหน้านี้พบว่า การเพิ่มขึ้นเอนไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ superoxide dismutase1 (SOD1) ที่เป็นกลุ่มของเอนไซม์อาศัย copper และ zinc ในการทำงาน สามารถยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวของเซลล์ murine melanoma cells ได้ ผ่านการกระตุ้นฮอ์โมน α-melanocyte stimulating hormone ในหลอดทดลอง (12) และในขณะที่การศึกษาของสารสกัดจากรกของหมู (porcine placental extract) พบว่ามีฤทธิ์ทั้งการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว รวมถึงกระบวนการกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ SOD1 และ SOD3 (กลุ่มของเอนไซม์อาศัย copper และ zinc ในการทำงาน) (3)

แต่อย่างไรก็ตามไม่ไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดของผลของสารสกัดจากรกต่อเอนไซม์ MnSOD (mitochondrial manganese-SOD) (SOD2) ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างเม็ดสี โดยในวารสารงานวิจัยฉบับนี้ทางผู้วิจัยได้ค้นพบว่า MnSOD มีการเพิ่มขึ้นเมื่อกระบวนการสร้างเม็ดสีของเซลล์ถูกยับยั้งที่เกิดจากการกระตุ้นโดยใช้สารสกัดจากรกแบบสกัดหยาบ W-PEx ซึ่งอาจสามารถสรุปได้ว่า การกระตุ้นของเอนไซม์ MnSOD อาจมีความเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ SOD1/3

             การศึกษาผลความเกี่ยวข้องของ MnSOD ด้านการหายใจในระดับเซลล์ (intracellular respiratory) มีการรายงานก่อนหน้านี้ว่า การเพิ่มขึ้นของระดับ MnSOD ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาภายในเซลล์จาก Oxidative respiration ใน mitochondria ไปเป็น ปฏิกิริยา glycolysis ภายใน cytoplasm ของเซลล์ (13) และนอกจากนั้นมีการศึกษาการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MnSOD ส่งผลให้มีการส่งเสริมการทำงานของ mitochondria (14) และในผลของวารสารงานวิจัยฉบับนี้ ระบุเมื่อมีการใช้สารสกัดจากรกแบบหยาบ (W-PEx) ส่งผลต่อยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมระดับของ MnSOD ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการลดระดับกระบวนการหายใจในระดับเซลล์ mitochondrial respiration และการกระตุ้นให้เกิดดกระบวนการ glycolysis ในเวลาเดียวกัน

จากการรบรวมค้นคว้าข้อมูลของผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า สารสกัดจากรกสามารถควบคุมกระบวนการเริ่มต้นผลิตเม็ดสีของเซลล์ผิวหนังผ่านทั้งในส่วนของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจในระดับเซลล์ mitochondrial respiration และ non-mitochondrial respiration

            ในวารสารการวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่าสารออกฤทธิ์สำคัญที่สกัดจากรก มีความสอดคล้องกับการควบคุมกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และ การทำงานของ mitochondria ที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ MnSOD การค้นพบข้อมูลดังกล่าว ในอนาคตอาจมีส่วนช่วยในการศึกษาและทำความเข้าใจถึงความสำคัญของ mitochondria ต่อการเกิดเม็ดสีผิว (melanogenesis) และการวิเคราะห์การทำงานของ mitochondria ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ Mn-SOD อาจจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในอนาคต

.

ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้านสุขภาพได้ที่ #WincellResearch

Tel. : 02-3994494-5

Mobile : 095-2541830 , 095-9246223

Line id : cswincell

Email : consults@wincellresearch.com

.

#เทโลเมียร์ #Cancer #ImmuneTherapy #NKCell #NKcellTherapy #WinKCell #WinKCellTherapy #มะเร็ง  #โรคมะเร็ง #ป้องกันโรคมะเร็ง #รักษาโรคมะเร็ง #รักษามะเร็ง #ภูมิคุ้มกันบำบัด #WincellLab #Empire #EmpireHolistic #OlanPiamkulvanich #OranPiamkulvanich  #โอฬารเปี่ยมกุลวนิช

เอกสารอ้างอิง

[1] H. Ando, M. S. Matsui, M. Ichihashi, Int. J. Mol. Sci. 2010, 11, 2566.

[2] S. Hatae, Y. Mishima, Fragr. J. 1990, 6, 105.

[3] M. Yamasaki, S. Hasegawa, H. Takahashi, Y. Kobayashi, C. Sakai, Y. Ashizawa, Y. Asai, M. Kanzaki, T. Fukui, Nat. Prod. Res. 2015, 29, 2103.

[4] S. Mallick, S. K. Singh, C. Sarkar, B. Saha, R. Bhadra, Pigment Cell Res. 2005, 18, 25.

[5] C. Sarkar, S. K. Singh, S. K. Mandal, B. Saha, R. Bera, J. Ratha, P. K. Datta, R. Bhadra, Mol. Cell. Biochem. 2006, 285, 133.

[6] T. Daniele, I. Hurbain, R. Vago, G. Casari, G. Raposo, C. Tacchetti, M. V. Schiaffino, Curr. Biol. 2014, 24, 393.

[7] X. Wu, J. A. Hammer, Curr. Biol. 2014, 24, R240.

[8] E. S. Kim, S. J. Park, M. J. Goh, Y.-J. Na, D. S. Jo, Y. K. Jo, J. H. Shin, E. S. Choi, H.-K. Lee, J.-Y. Kim, H. B. Jeon, J. C. Kim, D.-H. Cho, Pigment Cell Melanoma Res. 2014, 27, 1051.

[9] H. Ando, Y. Funasaka, M. Oka, A. Ohashi, M. Furumura, J. Matsunaga, N. Matsunaga, V. J. Hearing, M. Ichihashi, J. Lipid Res. 1999, 40, 1312.

[10] V. Virador, N. Matsunaga, J. Matsunaga, J. Valencia, R. J. Oldham, K. Kameyama, G. L. Peck, V. J. Ferrans, W. D. Vieira, Z. A. Abdel- Malek, V. J. Hearing, Pigment Cell Res. 2001, 14, 289.

[11] S. K. Singh, C. Sarkar, S. Mallick, B. Saha, R. Bera, R. Bhadra, Pigment Cell Res. 2005, 18, 113.

[12] C. T. Oh, D. Lee, K. Koo, J. Lee, H. S. Yoon, Y. M. Choi, T. R. Kwon, B. J. Kim, Ann. Dermatol. 2014, 26, 681.

[13] P. C. Hart, M. Mao, A. L. de Abreu, K. Ansenberger-Fricano, D. N. Ekoue, D. Ganini, A. Kajdacsy-Balla, A. M. Diamond, R. D. Minshall, M. E. Consolaro, J. H. Santos, M. G. Bonini, Nat. Commun. 2015, 6,

6053.

[14] A. Marine, K. J. Krager, N. Aykin-Burns, L. A. Macmillan-Crow, Redox. Biol. 2014, 2, 348.

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid