เก็บ PBSC ไปทำไม

ในอดีต เรามีนวัตกรรมการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดหลากหลายวิธี เช่น การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากสายสะดือ จากกระดูก จากฟันน้ำนม เป็นต้น แต่ในปัจจุบันวิธีการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับความนิยมอีกวิธีหนึ่งคือการเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ที่ไม่ต้องเจ็บตัว ทำได้ง่ายและปลอดภัย ใช้เวลาในการทำสั้น สามารถนำเอาไปใช้ผลได้ภายใน 1 เดือน

PBSC

แต่คงจะมีหลายคนสงสัยว่าเก็บไปเพื่ออะไร

การเก็บสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดโดยวิธีนี้สามารถที่จะใช้คงสภาพของเซลล์และอายุไว้ได้ รวมถึงสามารถที่จะนำไปใช้หากเป็นโรคในอนาคตได้ เช่น โรคมะเร็งบางชนิด รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง และในระยะหลังก็มีรายงานการศึกษาของการนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจที่มีหลอดเลือดตีบ ข้อเข่าเสื่อมได้อีกด้วย

ขั้นตอนการเก็บ

  1. ตรวจเช็คความพร้อมร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  2. แพทย์ให้คำปรึกษาแนะนำการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือด
  3. ใช้เวลาในการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดประมาณ 4-5 วัน
  4. นัดคนไข้มาเก็บเซลล์ต้นกำเนิด ใช้เวลาในการเก็บ 2-4 ชั่วโมง
  5. แพทย์เช็คความพร้อมของผลเลือดและแจ้งผลการเก็บสเต็มเซลล์

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการเก็บทำได้ไม่ยากเลยและมีความปลอดภัยสูง ได้รับการดูแลตลอดการเก็บโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการเก็บและการนำมาใช้

ขั้นตอนการนำมาใช้

โดยปรกติแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการจะช่วยดูแลและเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด หากท่านต้องการนำมาใช้ แพทย์ผู้ทำการดูแลจะพิจารณาเลือกจำนวนที่เหมาะสมกับอาการของท่านเพื่อนำมาใช้

ประโยชน์ของการเก็บ PBSC

  1. เป็นเซลล์ของตัวเอง ช่วงสุขภาพดี เพื่อตัวเอง
  2. ในกรณีที่ไม่ได้เก็บเซลล์ต้นกำเนิดไว้ตอนเกิดก็สามารถนำมาใช้ได้
  3. สามารถนำมาใช้รักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี
  4. ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับการเก็บสเต็มเซลล์โดยวิธีอื่นๆ

Reference

  1. NCI Dictionary of Cancer Terms
  2. Russell NH, Hunter A, Rogers S, Hanley J, Anderson D. Peripheral blood stem cells as an alternative to marrow for allogeneic transplantation. Lancet1993;341:1482-1482
  3. Korbling M, Przepiorka D, Huh YO, et al. Allogeneic blood stem cell transplantation for refractory leukemia and lymphoma: potential advantage of blood over marrow allografts. Blood1995;85:1659-1665
  4. Bensinger WI, Weaver CH, Appelbaum FR, et al. Transplantation of allogeneic peripheral blood stem cells mobilized by recombinant human granulocyte colony-stimulating factor. Blood1995;85:1655-1658
  5. Eapen M, Logan BR, Confer DL, et al. Peripheral blood grafts from unrelated donors are associated with increased acute and chronic graft-versus-host disease without improved survival. Biol Blood Marrow Transplant2007;13:1461-1468
  6. Switzer GE, Harrington D, Haagenson MD, et al. Health-related quality-of-life among adult matched unrelated stem cell donors: a Blood and Marrow Transplant Clinical Trials Network (BMT CTN) randomized trial of marrow versus PBSC donation. Presented at the 52nd ASH Annual Meeting and Exposition, Orlando, FL, December 4–7, 2010.

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid