5 วิธีที่ทำให้การนอนหลับของคุณดีขึ้น

มีหลายปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับของคุณ เริ่มตั้งแต่ความกังวล และตารางการทำงาน คนที่มีปัญหาการนอนมักพบว่ากิจวัตรประจำวันของพวกเขานั้นมีผลอย่างมาก

อันดับแรก ก่อนที่จะหาสาเหตุของปัญหาการนอน ลองมาดูศัตรูหลักของการนอนที่พบได้ทั่วไป และการจัดการก่อนดีกว่า

จำกัดการรับคาเฟอีน

การดื่มคาเฟอีนนั้นอาจทำให้คุณหลับได้ยากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการหลับที่สั้นลงและตื้นขึ้น ในคนบางกลุ่มกาแฟเพียงแก้วเดียวในตอนเช้ามีผลต่อการหลับในเวลากลางคืน อาจเพราะคาเฟอีนไปยับยั้ง Adenosine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในการสนับสนุนการนอนหลับ นอกจากนี้คาเฟอีนยังรบกวนการหลับโดยการที่ทำให้เราต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น

ดังนั้นถ้าคุณที่มีปัญหานอนไม่หลับควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีนเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากคาเฟอีนที่ได้รับนั้นสามารถส่งผลกระทบกินเวลาได้หลายชั่วโมง การเลิกคาเฟอีนทำให้เกิดการปวดหัว อารมณ์ฉุนเฉียว และมีอาการอ่อนเพลีย อาจจะเริ่มจากที่ค่อย ๆ ลดระดับของคาเฟอีนแทนที่จะหยุดไปดื้อ ๆ สำหรับคนที่ยังไม่อยากเลิกคาเฟอีนไปเลย ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงหลังบ่ายสองโมงหรือช่วงบ่ายโดยเฉพาะคนที่ไวต่อคาเฟอีน

หยุดการสูบบุหรี่

นิโคตินเป็นสารที่กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของการนอนหลับยาก เนื่องจากมีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น เพิ่มความดันเลือด และ กระตุ้นการทำงานของคลื่นสมองซึ่งทำให้ทำให้ตื่นอยู่ตลอด เพียงแค่หยุดสูบเพียงไม่กี่ชั่วโมงในผู้ที่เสพติดนิโคตินจะทำให้เกิดอาการขาดนิโคติน เช่นรู้สึกอยากที่จะสูบบุหรี่ถึงขนาดตื่นขึ้นมาเพื่อสูบกลางดึก คนที่สามารถเลิกได้จะหลับได้ง่ายขึ้น และลดโอกาสการตื่นในระหว่างนอนหลับช่วงกลางคืนอีกด้วย การรู้สึกนอนได้ยากหรือมีอาการอ่อนเพลียตอนกลางวันนั้นเกิดได้ในช่วงแรกของการเลิกนิโคติน แต่ในระหว่างนี้จะพบว่าคุณภาพในการนอนจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ายังไม่สามารถเลิกได้ขอให้หยุดสูบอย่างน้อย สองชั่วโมงก่อนเข้านอน

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง

แอลกอฮอล์ลดการทำงานของระบบประสาท ดังนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับดื่มก่อนนอนสามารถช่วยให้คุณหลับได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณภาพของการหลับนั้นจะผิดปรกติ เนื่องจากแอลกอฮอล์ยับยั้งการหลับแบบ REM (Rapid eye movement sleep) และผลของการทำให้หลับนั้นจะคงอยู่แค่ไม่กี่ชั่วโมง โดยนักดื่มมักตื่นขึ้นมาและบางครั้งจะมีการฝันร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แอลกอฮอล์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ 10% ของผู้ที่มีเป็นโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้มีการกรนที่หนักขึ้นจากมีผลให้กล้ามเนื้อที่คอคลายตัวด้วยการรบกวนการควบคุมการทำงานของสมอง ทำให้เกิดปัญหาการหายใจขณะนอนซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้

การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาที่ควรนอนตามธรรมชาติ เช่น ช่วงประมาณบ่ายสองถึงบ่ายสี่หรือตอนกลางคืน จะรบกวนการนอนได้มากกว่าช่วงเวลาอื่นของวัน แม้แต่การดื่มเพียงหนึ่งแก้วก็สามารถกระตุ้นคนที่นอนไม่พอให้รู้สึกง่วงนอนได้ ผลรวมของการดื่มแอลกอฮอล์และการนอนที่ไม่เพียงพอนั้นมีผลอย่างมากต่อโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

การมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนโดยการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นประจำมีประโยชน์ต่อการนอน 3 อย่างคือ จะช่วยให้คุณหลับได้เร็วขึ้น ทำให้ช่วงที่หลับลึกยาวนานขึ้น และลดโอกาสที่ตื่นขึ้นมากลางดึก การออกกำลังกายดูเหมือนมีผลมากต่อการหลับในผู้สูงอายุมาก จากงานวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถใช้เวลาน้อยกว่าครึ่งในการเริ่มนอนหลับเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และมีโอกาสตื่นจากการนอนหลับช่วงกลางคืนต่ำกว่าด้วย

จากงานวิจัยในปัจจุบันการนอนหลับนั้นเป็นวิธีเดียวที่สามารถช่วยกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีเพิ่มปริมาณการหลับลึกได้ จากผลการศึกษาพบว่าในผู้สูงอายุทั้งเพศชาย และหญิง จะมีระยะเวลาหลับลึกที่นานขึ้นเมื่อมีการออกกำลังกาย

อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายภายในสองชั่วโมงก่อนเข้านอนเพราะว่าการออกกำลังกายนั้นทำให้ร่างกายตื่นตัวและทำให้หลับได้ยากขึ้น

เข้านอนให้เป็นเวลา

ควรเข้านอนให้เป็นเวลาเพื่อรักษาของวงจรการนอนและการตื่นของเรา มีรายงานว่าผู้ที่นอนเป็นเวลามีจำนวนน้อยที่มีอาการนอนหลับยากและเป็นโรคซึมเศร้า ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่าควรตื่นในเวลาในทุก ๆ วัน ถึงแม้ว่าจะมีวันที่นอนดึก หรือการตื่นเป็นครั้งคราวระหว่างนอน การงีบในช่วงกลางวันอาจทำให้คุณนอนหลับยากในช่วงกลางคืน

การจดบันทึกการนอนอาจช่วยคุณพบสาเหตุของปัญหาที่รบกวนการนอนของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรทำเป็นระยะเวลา 1 เดือนหรืออย่างน้อยประมาณสัปดาห์

จุดมุ่งหมายของการนอนที่ดีคือการนอนให้ได้ยาวขึ้นในช่วงกลางคืน การงีบหลับช่วงกลางวันเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เพราะว่าเราต้องการให้การนอนหลับในแต่ละวันของเรานั้นมีความสม่ำเสมอ การนอนกลางวันจะทำให้หลับในช่วงกลางคืนได้ยากขึ้น

ถ้าคุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานระหว่างวัน การจัดตารางการงีบน่าจะช่วยได้ โดยผู้ที่หลับยากจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอนไม่เพียงพอ และพยายามจะจัดตารางเวลาในการนอนกลางวันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการนอนในช่วงกลางคืนเพื่อลดความกังวล

ถ้าเป็นไปได้ลองนอนหลับในระยะสั้น หลังจากอาหารกลางวัน ผู้ที่งีบหลับในช่วงบ่ายมีโอกาสมากขึ้นที่จะหลับลึก ซึ่งจะไปรบกวนการนอนในตอนกลางคืน การงีบหลับนั้นต้องสั้นกว่า 1 ชั่วโมงโดยมีระยะเวลาระหว่าง 15-20 นาที ซึ่งเพียงพอที่จะเห็นผลที่ดีของการนอนอย่างมีนัยะสำคัญ พยายามลดหรืองดการงีบหลับที่จะทำให้เรางัวเงียหรือมึนงง

Share:

More Posts

Amnion-derived mesenchymal stem cell

ในปัจจุบันศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine ) ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีการใช้เซลล์มาช่วยในการบำบัดโรค (cell-based therapy) ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้ Mesenchymal stem cells (MSCs) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจาก MSCs เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) ตัวเองไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เช่น เซลล์ไขมันเซลล์กระดูกเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์เส้นประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อน

การศึกษางานวิจัย “ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ Mesenchymal stem cells ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อาการหนักและอาการรุนแรง”ด้วยการทำ systematic review และ meta-analysis

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง innate และ adaptive immune respond ซึ่งการติดเชื้อในผู้ป่วยอาการหนักหรืออาการรุนแรงมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ เกิดการปลดปล่อยสาร cytokines จำนวนมาก จนเกิด cytokine storm ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ภาวะระบบอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในผู้ป่วยที่อาการหนักหรืออาการรุนแรง มักพบภาวะหายใจลำบาก ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์

มลพิษทางอากาศและความยาวของเทโลเมียร์ : ชนิดบทความการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารที่มีอาสาสมัครรวม 12,058 คน ผู้แต่ง : Bing Zhao, Ha Q. Vo, Fay H. Johnston, Kazuaki Negishi บทคัดย่อ มีการศึกษาและการรายงานถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจอยู่อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามกลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกลไกการก่อให้เกิดโรคต่างๆ จากมลพิษยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมลพิษทางอากาศอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเร่งกระบวนการชราภาพก่อนวัยอันควร และอาจเป็นสาเหตุของการไปสู่การเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease;

การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม

#เทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็ง EP.4 #การจัดการมะเร็งระยะลุกลาม โดย นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดกันถึงเรื่องของ การรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาปลดเบรกภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันบำบัดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในตอนจบนี้คุณหมอจะมาพูดถึง การสร้างทหารกองพิเศษที่จะมาจัดการกับมะเร็งโดยตรง หรือการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด จะเป็นอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน เรามาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ . ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ที่ #WincellResearch Tel.

ติดต่อสอบถาม

wincell-research-logo

บริษัท วินเซลล์รีเสิร์ช จำกัด ก่อตั้งโดย ดร.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช และประกอบด้วยทีมแพทย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาวิธีการเอาชนะโรคที่เกิดจากมะเร็ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
จดหมายข่าวของเรา

ส่งข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีสู่กล่องจดหมายข่าวของคุณ

Copyright 2020 © Wincell Research | All Rights Reserved |  Privacy policy | Terms of Service

covid