Search
Close this search box.

ประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็ง

เซลล์เพชฌฆาตหรือเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ที่มีส่วนของนิวเคลียสเป็น วงกลมหรือวงรี (large granular lymphocyte) สามารถพบได้ ประมาณร้อยละ 5 ถึง 20 ของปริมาณเม็ดเลือดขาวทั้งหมดในระบบไหลเวียน เซลล์เพชฌฆาตมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดหรือระบบ ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (innate immune system) ที่สามารถ ทำลายเซลล์แปลกปลอม เช่น เซลล์ที่ติดเชื้อก่อโรค (infected cell) และ เซลล์มะเร็ง (cancer cell) ได้ทันทีและรวดเร็วปราศจากการกระตุ้นโดย เซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ และสามารถแยกแยะเซลล์แปลกปลอมออกจากเซลล์ปกติ ได้เป็นอย่างดีผ่านกลไกการทำงานของหน่วยรับความรู้สึก (receptor) ที่ผิว เซลล์ หน่วยรับความรู้สึกหลักที่เซลล์ปกติมีอยู่บนผิวเซลล์คือ Major histocompatibility complex class I ซึ่งหน่วยรับความรู้สึกนี้ จะไม่แสดงออกในเซลล์แปลกปลอม เซลล์เพชฌฆาตจึงไม่ทำลายเซลล์ปกติแต่ จะทำลายเฉพาะเซลล์แปลกปลอมเท่านั้น มีงานวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการ ทำงานของเซลล์เพชฌฆาต (natural cytotoxicity) ที่ลดลงมี ความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ

เซลล์เพชฌฆาตที่พบในร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อยโดยอาศัย การแสดงออกของกลุ่มโมเลกุลบนผิวเซลล์ (cluster of differentiation, CD) ได้แก่ CD56 และ CD16 ซึ่งเซลล์ เพชฌฆาตที่มีการแสดงออกของ CD56 ต่ำ (CD56dim) และ CD16 สูง (CD16bright) สามารถพบได้ราว 90% ของเซลล์เพชฌฆาตทั้งหมด ในขณะที่ เซลล์เพชฌฆาตที่มีการแสดงออกของ CD56 สูง (CD56bright) และ CD16 ต่ำ (CD16dim) สามารถพบได้เพียง 10% เท่านั้น แม้ว่าเซลล์ เพชฌฆาตทั้งสองกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการกำจัดเซลล์แปลกปลอม เช่นเดียวกัน แต่ขีดความสามารถในการทำงานจะแตกต่างกันไป เช่น เซลล์ เพชฌฆาต CD56dim/CD16bright จะทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์ แปลกปลอมด้วยกลไก Natural cytotoxicity ในขณะที่ เซลล์ เพชฌฆาต CD56bright/CD16dim จะทำหน้าที่หลักในการสร้างและหลั่ง ไซโตไคน์ (cytokine) ที่เป็นกลุ่มโปรตีนส่งสัญญาณระหว่างเซลล์เพื่อเรียก ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ มาช่วยกันกำจัดเซลล์แปลกปลอม อาทิเช่น Interferon-γ (IFN-γ) และ Tumor necrosis factor-α (TNF-α) เป็นต้น

การตรวจวัดประสิทธิภาพของ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ทางห้องปฏิบัติการวินเซลล์รีเซิร์ช ให้บริการถือว่าเทียบเท่าวิธีมาตรฐาน ( Gold Standard ) คือ 51Cr release assay  ซึ่งเป็นการดูความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งของ NK Cell ( CD56dim ) โดยตรง คือ วิธี Calcein-AM cytotoxicity assay ด้วยเครื่อง Fluorometer ซึ่งเป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารรังสี โดยใช้หลักการเดียวกับวิธี 51Cr release assay แต่เปลี่ยนจากการใช้สารรังสีมาเป็นสารเรืองแสง  (Calcein-AM) ซึ่งเป็นสารเรืองแสงสีเขียวมีคุณสมบัติเป็น lipid-soluble substance ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่ cell membrane ได้ดี และจะถูกปล่อยออกจากเซลล์ในกรณีที่ cell damage แล้วเช่นเดียวกับ 51Cr หลังจากนั้น เราจึงทำการวัดปริมาณสารเรืองแสงแล้วนำมาคำนวณเป็นค่า NK activity ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำสูงมาก รวมทั้ง ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

Natural cytotoxic activity processing
การตรวจวัดประสิทธิภาพของเซลล์เพชฌฆาต

Natural cytotoxic activity (NK Activity testing)
การทดสอบประสิทธิภาพของเซลล์เพชฌฆาต

Natural Killer Cell หรือ NK Cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกายที่มีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีสัดส่วนเพียง 1% ของเม็ดเลือดขาว ในร่างกายของเรา และเป็นเซลล์เพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีปฏิกิริยาแอนติเจนและแอนติบอดี ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถแยกแยะและมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อกำจัดและทำลายเซลล์มะเร็ง เชื้อโรค รวมถึงไวรัสชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายของเราได้อย่างรวดเร็ว ตรงจุด อย่างมีประสิทธิภาพสูง และ มีคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นกว่าเม็ดเลือดขาวทั่วไปคือสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าถึงเกือบ 100 เท่า

การตรวจวิเคราะห์ NK Cell Count ( CD3-/CD16+/CD56+ )

คือ  การนับจำนวนเซลล์เพชฌฆาต (NK cells) ในกระแสเลือด ช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสต่างๆ  อีกทั้งสามารถบอกอีกด้วยว่าผู้ป่วยมะเร็งมีความพร้อมสมบูรณ์ แข็งแรงเพียงพอหรือไม่ที่จะรักษาด้วยการฉายแสง ผู้ป่วยที่ขาดหรือมีจำนวนของ NK cells ต่ำ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสต่างๆ  เนื่องจาก NK Cells เป็นด่านแรกที่ทำการตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง เชื้อไวรัส เชื้อโรคแปลกปลอมต่างๆ ผ่านกลไกพิเศษเฉพาะของ NK cells เท่านั้น เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนไม่อาจควบคุมได้  แม้ว่าการตรวจนับจำนวน NK Cells จัดเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและการติดเชื้อ แต่การตรวจประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต ( NK Cell Activity ) ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ควรตรวจควบคู่กัน เพื่อประเมินทั้งจำนวนและความสามารถของเซลล์เพชฌฆาตของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

NK Cell ในเลือดบอกอะไรบ้าง?

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณ NK Cells ในกระแสเลือดจะช่วยให้ทราบว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือไม่? หรือช่วยในการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรักษาด้วยวิธีฉายรังสีหรือไม่? เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องใน NK cell หรือมีจำนวน NK cell ในเลือดต่ำ (NK cell deficiency or low NK cell count) มีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจาก NK cell เป็นด่านแรก ที่จะตรวจจับและฆ่าเซลล์มะเร็งก่อนที่เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและควบคุมไม่ได้ในที่สุด

การตรวจ NK Cell Count และ NK Activity เหมาะกับใคร?

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

ได้แก่ การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เช่นดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ น้ำหนักเกิน หรือมีประวัติมะเร็งในครอบครัว

ผู้ที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผู้ที่ป่วยบ่อยๆ

ผู้ที่เคยเป็นมะเร็ง แต่หายแล้ว

"มะเร็ง" ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของเรา
อย่าปล่อยให้โรคร้ายนี้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรัก