Services
ติดต่อสอบถาม

มาทำความรู้จักกับ... เลปติน (Leptin)
Leptin คือ ฮอร์โมนที่ช่วยในการควบคุมความหิว ผลิตมาจากเซลล์ไขมัน (White adiposyte) และผลิตได้บ้างเล็กน้อยในเซลล์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงรกในหญิงตั้งครรภ์ โดยการส่งสัญญาณ ผ่านกระแสเลือกไปยังตัวรับสัญญาณที่สมองส่วน ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบเมแทบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย เลปตินทำหน้าที่เป็นตัวบอกสมองว่าจะเก็บไขมันในปริมาณเท่าใด เมื่อมีการทานอาหารที่เพียงพอ เลปตินจะทำการบอกร่างกายว่าไม่รู้สึกหิวอีกต่อไป เมื่อเลปตินมีระดับที่ต่ำจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและจะเพิ่มการรับประทานอาหาร โดยระดับของเลปตินจะสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเซลล์ไขมัน เพื่อลดความหิวและรับประมานอาหารลดลง การที่ระดับของเลปตินที่ไม่เพียงพอจะทำให้เราเกิดความหิวอย่างต่อเนื่องจากการที่ร่างกายพยายามที่จะป้องกันตัวเองจากสภาวะขาดอาหาร ซึ่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของยีนเลปตินที่ผิดปตินั้นเป็นโรคที่พบยากมากในเด็ก จะมีอาการของโรคอ้วนอย่างรุนแรง สามารถทำการรักษาโดยการให้เลปตินทดแทนซึ่งให้ผลการรักษาที่ดี

ความหมายของระดับเลปติน
ค่าเลปติยที่ต่ำบ่งบอกว่า คุณจะมีระดับความหิวที่มากกว่าปกติ และระดับการเผาผลาญพลังงานที่ต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมในการสร้างเลปติน หรือเกิดจากปัจจัยแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดอาหาร หรือการมีระดับเทสโทสเตอโรนที่มากเกินไป
ค่าเลปตินที่บ่งบอกว่า ร่างกายของคุณอยู่ในสภาวะตอบสนองต่อการรับพลังงานตามปกติ
ค่าเลปตินมีระดับที่สูงบ่งบอกว่า คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะภาวะดื้อเลปติน ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการจัดการพลังงานที่ได้รับมากเกินไปซึ่งพบโดยมากในคนที่เป็นโรคอ้วน โดยภาวะดื้เลปตินนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค เมตาโบลิคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุเช่น การอักเสบปริมาณไขมันในเลือดสูง ความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ การขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายหนักเกินไป

ภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin Resistance)
คือการที่สมองไม่สามารถรับสัญญาณที่เลปตินส่งมาได้ ทำให้มีอาการหิวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อตับและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเราในหลาย ๆ ระบบ มักจะเป็นในคนที่อ้วนหรือผอมมากเกินไป โดยยิ่งทำให้มีไขมันสะสมมาก โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ปริมาณเลปตินในเลือดมากก็ยิ่งทำให้สมองรับสัญญาณนั้นยากขึ้น การรับสัญญาณที่ผิดพลาดนี้มีผลกระทบต่อการทานอาหารและจะส่งผลระยะยาวต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก โดยผู้ที่มีภาวะดื้อเลปตินมีแนวโน้มที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และร่างกายมีการปรับตัวโดยการเผาผลาญพลังงานลดลง ภาวะดื้อเลปตินนั้นสามารถย้อนกลับมาปกติได้ ตัวอย่างเช่น ในผู้ที่ประสบความสำเร็จในการลดระดับของไขมันมีแนวโน้มที่แลปตินกลับมาอยู่ในระดับที่ปกติ จะทำให้การดื้อเลปตินลดลง โดยช่วยให้สมองจะเพิ่มความสามารถในการรับสัญญาณที่ถูกต้องมากขึ้น และกลับมาควบคุมระดับของไขมันให้ลดน้อยลงได้
โดยภาวะดื้อเลปตินนั้นเกิดได้จาก การอักเสบ ปริมาณไขมันในเลือดสูง และระดับเลปตินที่สูงเกินไป
โดยมีผลจากปัจจัยการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น การกินมากเกินไป ความเครียด การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ การขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายหนักเกินไป
ปัจจุบันยังมีหลายงานวิจัยที่ศึกษาถึงหน้าที่ของเลปตินที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วนและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางระบบประสาทและความสามารถในการเจริญ
พันธุ์ โดยภาวะดื้อต่อเลปตินนั้นปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีที่เฉพาะเจาะจงในการตรวจวัด แต่สามารถดูได้จาก
ระดับของเลปตินที่สูงมากเกินไป จากการตรวจระดับของ Leptin ในกระแสเลือด ควบคู่กับค่าการอักเสบ HS-CRP ซึ่งตับมักจะผลิตเมื่อ TNF-α (Tumor necrosis factor) มีค่าสูง
เลปตินกับโรคอ้วน
โรคอ้วนนั้นเป็นโรคที่สำคัญต่อปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง เบาหวานประเภทที่สอง ปัญหาข้อเข่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวระหว่างหลับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลืือดสมอง มะเร็ง ประจำเดือนผิดปกติ และภาวะมีบุตรยาก อัตราการเกิดโรคอ้วนนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างคงที่ในรอบ 20 ปีในทุกช่วงอายุ จากข้อมูลของกองควบคุมโรครายงานว่าหนึ่งในสามของผู้ใหญ่และ 17% ในเด็กจะมีสภาวะน้ำหนักโดยพิจารณาจาก ดัชนีมวลร่างกาย (Body mass index หรือ BMI) จากผลงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าในบางกลุ่มคนนั้น ระดับของเลปตินมีความแม่นยำมากกว่า BMI ในการตรวจวัดว่าคนคนนั้นมีปริมาณไขมันเกินที่เกินอยู่เท่าใด โดยทั่วไปแล้วระดับเลปตินที่สูงในกระแสเลือดจะบ่งบอกถึงปริมาณไขมันทที่สะสมในเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่สูงอายุ ซึ่งมีการเสียมวลกล้ามเนื้อในปริมาณมาก (Sarcopenic obesity) คนที่มีกล้ามเนื้อปริมาณมาก หรือมีมวลกระดูกที่มากทำให้การใช้ค่า BMI ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ดีพอ การใช้ Duel-energy x-ray absorptiometry (DEXA) สามารถทำการวัด มวลกล้ามเนื้อ กระดูก และปริมาณไขมันในร่างกายในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีความถูกต้อง และแม่นยำมากกว่าในการวัดไขมันในร่างกาย ทำให้สามารถจำแนกประชากรในกลุ่มที่มีค่า BMI ปกติ แต่มีสภาวะไขมันเกินเพิ่มขึ้นมา ซึ่งคนในกลุ่มนี้น่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มในการเกิดโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า DXA จะเป็นการวัดไขมันโดยตรง และเป็นการวัดดัชนีไขมันที่ดีกว่า BMI แต่ยังไม่พบถึงความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมทาบอลิค (Metabolic disease)
โรคอ้วนนั้นเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มระดับของเลปติน เนื่องจากภาวะดื้อเลปติน (Leptin Resistance) นั้นมีความคล้ายกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมักเกิดกับกลุ่มคนที่เห็นโรคอ้วน กลุ่มคนที่ประสบภาวะดื้อเลปตินนั้นจะมีความหิวอยู่ตลอดเวลาถึงแม้ว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่พอเพียงแล้ว เนื่องจากร่างกายเข้าใจว่ายังอยู่สภาวะที่ขาดอาหาร ทำให้ร่างกายยิ่งผลิตเลปตินเพิ่มมากขึ้น การดื้อเลปตินนี้ส่งผลหลัก ๆ สองทางคือ ทำให้เพิ่มระดับการกินมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการขาดอาหาร และลดระดับการเผาผลาญลง ซึ่งการเกิดโรคอ้วนอาจเป็น การตรวจวัดระดับเลปตินในผู้ที่เป็นโรคอ้วน อาจพบได้ในลักษณะระดับเลปตินที่ต่ำ จัดอยู่ในสภาวะที่ขาดเลปติน หรือกลุ่มที่มีระดับที่มีระดับเลปตินที่สูง ซึ่งจัดว่าอยู่ในภาวะดื้อเลปติน โดยผู้ที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่จะมีระดับเลปตินที่สูงโดยจะมีเพียงแค่ประมาณ 10% ที่มีระดับของเลปตินที่ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งบอกถึงความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ทำให้สามารถรักษาคนไข้กลุ่มนี้ได้อย่างจำเพาะเจาะจง อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่ขาดเลปตินในระดับไม่มากนั้กยังไม่มีการยืนยันว่าการรักษาโดยเลปตินนั้นจะมีประสิทธิภาพที่ดี
ปัจจัยที่มีผลต่อเลปติน
การรับประทานอาหาร
ลดปริมาณการรับประมานน้ำตาล
มีงานวิจัยระบุว่าน้ำตาลนั้นเป็นสาเหตุสำคัญมากในการเกิดภาวะดื้อเลปติน จากการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยการให้อาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง พบว่าในกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีน้ำตาลสูงนั้นมีการพัฒนาให้เกิดภาวะดื้อเลปติน แต่ไม่พบในกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงหรืออาหารที่ปราศจากน้ำตาล นอกจากนั้น เมื่อทำการตัดน้ำตาลออกจาก อาหารไขมันสูง และอาหารที่มีน้ำตาลสูงแล้วนั้นสามารถทำให้ภาวะดื้อเลปตินดีขึ้นได้
มีโปรตีนในทุกมื้ออาหาร
โปรตีนนั้นสามารถทำให้ภาวะดื้อเลปตินดีขึ้นได้ มีงานศึกษาพบว่าการได้รับพลังงานจากโปรตีนเพิ่มขึ้นจาก 15% ไปเป็น 30% ในขณะที่รักษาระดับคาร์โบไฮเดรตให้คงที่สามารถเพิ่มความรู้สึกอิ่ม ทั้งยังลดการไ้ดรับพลังงานโดยรวมทำให้น้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งยังพบว่าการตอบสนองให้รู้สึกความอิ่มที่ดีขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนระดับสูงนั้น เกิดขณะที่ระดับเลปตินที่คงที่ หรือกระทั่งลดลง ทำให้เกิดข้อสรุปว่าการรับประทานอาหารดังกล่าวเพิ่มความไวของเลปติน
ลดระดับไตรกลีเซอไรด์
เลปตินที่อยู่ในกระแสเลือดจะไปยังสมอง ซึ่งจะกระตุ้นสัญญาณให้เกิดความอิ่ม เมื่อมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จะไปยับยั้งการขนส่งเลปตินไปยังสมองทำให้เกิดภาวะดื้อเลปติน จากการศึกษาพบว่า การลดระดับไตรกลีเซอไรด์จากการรักษาด้วยยานั้น สามารถทำให้ภาวะยับยั้งการขนส่งของเลปตินกลับมาดีขึ้นได้
รูปแบบการดำเนินชีวิต
นอนให้เพียงพอ
จากรายงานผลงานวิจัยพบว่าการนอนแค่เพียง 5 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่นอน 8 ชั่วโมงติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ พบว่าระดับเลปตินลดลงถึง 15.5% ทั้งยังเพิ่มระดับของ Ghrelin 14.9% (Ghrelin เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับเลปตินโดยกระตุ้นให้เกิดความหิว) และยังพบว่า ค่า BMI ลดลงโดยเฉลี่ย 3.6% เมื่อนอน 8 ชั่วโมงจากที่เคยนอน 5 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งอยู่ในช่วง 7-9 ชั่วโมง โดยการนอนที่เพียงพอนั้นช่วยให้เกิดความสมดุลของระดับเลปติน
ออกกำลังกายเป็นประจำ
จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการออกกำลังกายเพิ่มความไวต่อทั้งเลปตินและอินซูลิน ความไม่สมดุลของฮอร์โมนทั้งสองตัวทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เราควรออกกำลังระดับปานกลาง (ยังสามารถพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ เช่นการเดินเร็ว การปั่นจักรยาน) เป็นเวลา 150 นาที รวมถึงการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน เช่น วิดพื้น 2 ครั้งต่อสัปดาห์
สารประกอบที่ลดภาวะดื้อต่อเลปติน
Resveratol | ยับยั้งการแสดงออกของเลปติน |
Teasaponin & Ginsenoside | ลดความอยากอาหาร โดยเพิ่มระดับของ pSTAT3 ที่ไฮโปทาลามัส |
Matformin | ทำงานผ่านทาง PTP1B inhibitor |
Betulinic acid | ทำงานผ่านทาง PTP1B inhibitor |
Amylin | เพิ่มระดับสัญญาณของเลปติน โดยกระตุ้นผ่าน ERK/MAPK pathway |
Curcumin | ยับยั้งการหลั่งเลปติน |