เทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์
เทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์
(MEDICAL DIAGNOSIS TECHNOLOGY)
ทุกวันนี้เราต้องพบเจอกับภัยคุกคามสุขภาพมากมายไม่ว่าจะเป็นเชื้อก่อโรคระบาดรุนแรง เช่น ไวรัสโควิด 2019 หรือมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM 2.5 ยิ่งไปกว่านั้น วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การใช้ชีวิตและทำงานในเขตเมืองที่แวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่อาจส่งผลให้เรามีกิจกรรมทางกายภาพที่จำกัดและก่อให้เกิดความเครียดสะสม การบริโภคอาหารเร่งด่วนที่มีสารอาหารไม่ครบถ้วน และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถยืนยันได้จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) โรคอ้วน (Obesity) และกลุ่มอาการผิดปกติทางเมแทบอลิก (Metabolic syndrome) รวมไปถึงโรคเสื่อมร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง (Cancer disease) การใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการลดโอกาสหรือหลีกเลี่ยงการเกิดโรคภัยเหล่านี้
หากเรารู้และเข้าใจสภาพร่างกายของเราอย่างลึกซึ้ง เราก็จะดูแลจัดการปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถลดโอกาสหรือความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ปัญหาสุขภาพเหล่านั้นรุกรามหรือรุนแรงเกินกว่าที่เราจะคาดคิดได้ ด้วยเหตุนี้การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์เชิงลึกจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้เรารู้และเข้าใจสภาพร่างกายของเรามากยิ่งขึ้น ช่วยให้เรารู้และเข้าใจได้ว่า ณ เวลานี้ ร่างกายของเรากำลังพบเจอกับปัญหาสุขภาพอะไรอยู่บ้าง หรือช่วยให้เราคาดการณ์ได้ว่าร่างกายของเรามีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง แล้วโอกาสที่ว่านั้นมีมากน้อยเพียงใด เมื่อเรารู้และเข้าใจสภาพร่างกายของเราแล้วไม่พบความผิดปกติและมีสุขภาพที่แข็งแรงดี เราก็จะสามารถดูแล รักษา และส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ หากเราพบความผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพในอนาคต เราก็จะสามารถปรับปรุงแก้ไข ชะลอ หรือยับยั้งไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นกลายเป็นโรคได้
- ตรวจวิเคราะห์เซลล์ภูมิคุ้มกัน (Immune cells) ที่เน้นการตรวจกลุ่มเซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เซลล์เพชฌฆาต (Natural killer (NK) cells) และเซลล์ที (T cells) เป็นหลัก การรู้ว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันของเรามีจำนวนที่เหมาะสมและทำงานเป็นปกติ จะช่วยให้เรารู้ขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ และยังบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบ้างจำพวกได้ด้วย เช่น โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเอง เป็นต้น ปัจจุบันวินเซลล์ รีเซิร์ช เปิดให้บริการตรวจจำนวนเซลล์เพชฌฆาต (NK cell count) ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต (NK cell activity) เซลล์ทีกลุ่มหลัก (CD3+/CD4+/CD8+ cell count) และเซลล์ทีควบคุม (Regulatory T (Treg) cell count)
- ตรวจประเมินอายุเซลล์ (Biological age) อายุชีวภาพหรือที่วินเซลล์ รีเซิร์ช เรียกว่า “อายุเซลล์” สามารถประเมินได้โดยการวิเคราะห์ความยาวเทโลเมียร์ (Telomere length) เซลล์แบ่งตัวตามอายุที่เพิ่มขึ้น การแบ่งตัวแต่ละครั้งทำให้เทโลเมียร์สั้นลง เทโลเมียร์ทำหน้าที่ในการปกป้องรักษาสารพันธุกรรมไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกทำลายระหว่างการแบ่งตัว ดังนั้นเทโลเมียร์ที่สั้นกว่าปกติมีโอกาสสูงที่เซลล์จะมีโอกาสเสื่อมหรือแก่เร็วกว่าปกติได้ การรู้ความยาวเทโลเมียร์ไม่เพียงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้อายุเซลล์เท่านั้นแต่ยังแสดงให้เรารู้ว่าการใช้ชีวิตของเราที่ผ่านมาส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของเรา
- ตรวจประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็ง (Cancer risk assessment) “มะเร็ง” โรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนไม่น้อยในแต่ละปีและยังคงเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาและหายขาด จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตมีผลอย่างมากต่อการเกิดโรคมะเร็ง วินเซลล์ รีเซิร์ช คิดค้นและพัฒนาการตรวจประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็งจากการผสมผสานข้อมูลเชิงพฤติกรรมและผลตรวจสุขภาพเชิงลึกระดับเซลล์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการตรวจตระหนักถึงระดับความเสี่ยงมะเร็งของตน และร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางในการลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายนี้ขึ้น
เซลล์ภูมิคุ้มกัน (IMMUNE CELLS)
การทำงานของเซลล์เพชฌฆาต
(NK CELL ACTIVITY)
จำนวนเซลล์ทีกลุ่มหลัก
(CD3+/CD4+/CD8+ CELL COUNT)
จำนวนเซลล์เพชฌฆาต
(NK CELL COUNT)
จำนวนเซลล์ทีควบคุม
(REGULATORY T CELL COUNT)
Add Your Heading Text Here
อายุเซลล์ (BIOLOGICAL AGE)
ความยาวเทโลเมียร์ (TELOMERE LENGTH)
อายุเซลล์ หรือ อายุชีวภาพ สามารประเมินได้จากการตรวจวัด “ความยาวเทโลเมียร์ (Telomere length)” เทโลเมียร์คือส่วนปลายสุดของโครโมโซม (Chromosome) เทโลเมียร์มีบทบาทสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้รหัสพันธุกรรม (Genes) ที่อยู่ในโครโมโซม (ส่วนถัดเข้าไปจากเทโลเมียร์) เสียหายเมื่อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ โดยทั่วไปความยาวเทโลเมียร์ที่สั้นลงจะสัมพันธ์กับอายุจริงที่เพิ่มขึ้น หากความยาวเทโลเมียร์ของคุณสั้นลงเร็วเกินกว่าอายุจริงของคุณ แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังพบกับภาวะชราก่อนวัยอันควร ในทางกลับกันหากความยาวเทโลเมียร์ของคุณสั้นลงช้ากว่าอายุจริงของคุณ แสดงให้เห็นว่าคุณดูแลรักษาสุขภาพได้เป็นอย่างดี
Add Your Heading Text Here
ใครกันนะที่ควรตรวจวิเคราะห์เซลล์ภูมิคุ้มกันและอายุเซลล์
กลุ่มเปราะบางที่มีหรืออาจมีปัญหาสุขภาพ
- อยู่ในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการรักษาจนหายขาดแล้วแต่ยังต้องเฝ้าติดตามอาการ
- มีญาติพี่น้องป่วยด้วยโรคมะเร็ง
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อไวรัส
- เป็นผู้ป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต เบาหวาน หรือมีอาการไขมันในเลือดสูง
- เคยหรือยังคงเป็นผู้ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างหนักหรือดื่มและสูบอย่างต่อเนื่องทุกวัน
- ผู้ที่ต้องสัมผัสกับมลพิษหรือสารเคมีอันตรายตลอดเวลา
- ผู้ที่ต้องรับหรือใช้ฮอร์โมน
- มีภาวะเครียดเรื้อรังหรือเครียดสะสม
- พักผ่อนน้อยและออกกําลังกายไม่เพียงพอ
- ผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เช่น ผู้ที่ทานมังสวิรัติ
- ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
กลุ่มคนรักสุขภาพ
การตรวจวิเคราะห์เซลล์ภูมิคุ้มกันและอายุเซลล์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบ่งชี้สภาวะสุขภาพของเรา ช่วยให้เรารู้และเข้าใจว่าสุขภาพของเรามีความแข็งแรงหรืออ่อนแอมากน้อยเพียงใด มีโอกาสในการเกิดโรคแอบแฝงหรือไม่ เมื่อเรารู้และเข้าใจสภาวะร่างกายแล้วก็จะช่วยให้เราปรับตัวและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ