ความเสี่ยงมะเร็ง
ความเสี่ยงมะเร็ง (CANCER RISK)
ทุกวันนี้เราต้องพบเจอกับภัยคุกคามสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อก่อโรคระบาดรุนแรง เช่น โรคโควิด 2019 และมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM 2.5 นอกจากนี้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การใช้ชีวิตในเขตเมืองที่แวดล้อมไปด้วยฝุ่นควันพิษบนท้องถนนที่แออัด สิ่งอำนวยความสะดวกและรูปแบบการทำงานที่จำกัดกิจกรรมทางกายภาพที่อาจก่อให้เกิดความเครียดสะสมและอาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ได้ ปัจจัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของเรา
สถาบันมะเร็งแห่งชาติและข้อมูลสถิติผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกแสดงให้เห็นแล้วว่ามะเร็งคือสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ และจำนวนผู้ป่วยมะเร็งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี มะเร็งจึงเป็นโรคร้ายที่ยังคงท้าทายขีดความสามารถของเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์มาโดยตลอด ผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งและเมื่อรู้ว่าเป็นก็พบว่าอยู่ในระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) หรือระยะลุกลาม (Advanced cancer) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เสียแล้ว การตระหนักรู้และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่อาจช่วยให้เราห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้
จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งร้อยละ 80 มีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม และยังพบอีกว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งคือ รูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyle) โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) ที่สูงกว่าปกติ
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง วินเซลล์ รีเซิร์ช เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งและป้องกันเราจากการเกิดโรคร้ายนี้ จึงได้คิดค้นแนวทางการตรวจประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็งขึ้นเพื่อช่วยให้เรารู้และเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งในร่างกายและเสนอแนะแนวทางในการปรับลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น
วินเซลล์ รีเซิร์ช ให้บริการ “ตรวจประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็ง” (cancer risk assessment) โดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพฤติกรรม ประวัติครอบครัว รูปแบบการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพผ่านการตอบแบบสอบถาม และข้อมูลสุขภาพเชิงลึกได้แก่ สภาวะภูมิคุ้มกัน ภาวะการอักเสบโดยรวม และระดับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งในร่างกายผ่านการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ผู้เข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องงดน้ำและงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีภาวะติดเชื้อ เป็นไข้หวัด ควรให้หายก่อนอย่างน้อย 7 วัน
แบบสอบถามประเมินระดับความเสี่ยงมะเร็งเบื้องต้น
- ประวัติมะเร็งในครอบครัว
- ข้อมูลสุขภาพทั่วไป
- รูปแบบการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
สภาวะภูมิคุ้มกัน
- จำนวนและการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต (natural killer (NK) cell)
- ความสมดุลของจำนวนเซลล์ที (T cell)
- การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (complete blood count, CBC)
ภาวะอักเสบโดยรวม
- การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์
- ค่า High-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP)
- อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (erythrocyte sedimentation rate, ESR)
ระดับสารพิษและสารก่อมะเร็งในร่างกาย
- ผ่านการสูดดม เช่น PM 2.5 ฝุ่นละอองและควันพิษบนท้องถนน
- ผ่านการบริโภค เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารทะเลปนเปื้อน น้ำตาลเทียม
- ผ่านการสัมผัส เช่น โลหะหนักจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยาฆ่าแมลง