เป็นที่ทราบกันดีว่าเซลล์สมองจะเป็นเซลล์ที่ไม่มีการแบ่งตัว เมื่อสมองได้รับภยันตรายจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ โรคเส้นเลือด ก็จะไม่มีการสร้างเซลล์สมองเพิ่ม ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการที่แย่ลงและทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง
ในปัจจุบันมีการศึกษามากมายเรื่องของ Stem cell ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคทางสมองได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อมแบบต่างๆ เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าวสามารถที่จะซ่อมแซมและเร่งการรักษาเซลล์สมองที่ตายไปได้เป็นอย่างดื ในวิทยาการของ Stem cell ก็มีการพัฒนาของการเก็บ stem cell แบบต่างๆ รูปแบบของการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเก็บให้ตัวเองได้คือ การเก็บสเต็มเซลล์แบบ PBSC (Peripheral Blood Stem cell) โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดของเลือดตัวเองในการซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ เช่นระบบหลอดเลือดและสมอง เป็นต้น

ทางทีมนายแพทย์ Manisha และคณะ ได้ทำการศึกษาโดยการใช้ Stem cell รูปแบบต่างๆในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง พบว่ามีการใช้ PBSC ในการรักษาโรคสมองแล้วได้ผลดี โดยใช้ปริมาณเซลล์เริ่มต้นที่ 3-10 ล้านเซลล์ก็สามารถที่จะทำให้การตอบสนองของสมองเกิดได้ดีขึ้นที่ 12 เดือนหลังการทำการรักษา และยังทำให้ผู้ป่วยสามารกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีการศึกษาในระยะถัดมาของนายแพทย์ Cheng และคณะพบว่าผู้ป่วยโรคสมองที่ได้รับ PBSC เข้าไปสามารถมีการตอบสนองผ่านแบบทดสอบ NIHSS score ที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาโดย PBSC อย่างมีนัยสำคัญ

และผลการศึกษาของ นายแพทย์ Lin และคณะจากมหาวิทยาลัยแพทย์จีน (China medical university hospital) ที่เป็ฯหนึ่งในศูนย์การรักษษด้วยนวัตกรรมแห่งแรกของประเทศจีนที่ประสบผลสำเร็จยังประกาศผลการศึกษาถึงการใช้ PBSC เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย โดยนู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองจะมีการตอบสนองต่อการให้เซลล์ โดยมีระดับ CD34+ ไม่น้อยกว่า 3-8 ล้านเซลล์ได้ดีอีกด้วย ในผู้ป่วยบางรายสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้

การรักษาทางการให้สเต็มเซลล์เลือดในผู้ป่วยโรคสมองจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ป่วยในยุคปัจจุบัน

ทาง Wincell Research Center มีนวัตกรรมในการเก็บและใช้ PBSC มาอย่างยาวนานโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาและอายุรกรรมให้คำปรึกษาและดูแลตลอดช่วงการรักษา จึงทำให้ท่านสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยในการรักษา
Reference
- Andrews E. M., Tsai S. Y., Johnson S. C., Farrer J. R., Wagner J. P., Kopen G. C., et al. (2008). Human adult bone marrow-derived somatic cell therapy results in functional recovery and axonal plasticity following stroke in the rat. Exp. Neurol. 211 588–592. 10.1016/j.expneurol.2008.02.027
- Bao X. J., Liu F. Y., Lu S., Han Q., Feng M., Wei J. J., et al. (2013). Transplantation of FLK-1+ human bone marrow-derived mesenchymal stem cells promotes behavioral recovery and anti-inflammatory and angiogenesis effects in an intracerebral hemorrhage rat model. Int. J. Mol. Med. 31 1087–1096. 10.3892/ijmm.2013.1290
- Bhasin A., Padma Srivastava M. V., Mohanty S., Vivekanandhan S., Sharma S., Kumaran S., et al. (2016). Paracrine mechanisms of intravenous bone marrow-derived mononuclear stem cells in chronic ischemic stroke. Cerebrovasc. Dis. Extra 6 107–119. 10.1159/000446404
- Bhasin A., Srivastava M. V., Bhatia R., Mohanty S., Kumaran S. S., Bose S. (2012). Autologous intravenous mononuclear stem cell therapy in chronic ischemic stroke. J. Stem Cells Regen. Med. 8 181–189.
- Chen D. C., Lin S. Z., Fan J. R., Lin C. H., Lee W., Lin C. C., et al. (2014). Intracerebral implantation of autologous peripheral blood stem cells in stroke patients: a randomized phase II study. Cell Transplant 23 1599–1612. 10.3727/096368914X678562