Services

Facebook
Twitter
LinkedIn

ติดต่อสอบถาม

ความสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิด

เซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ คือ อะไร

         คำไทยใช้คำว่า เซลล์ต้นกำเนิด ถ้าแปลตรงตัว Stem ก็แปลว่าลำต้น ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดนี้ย้อนไปถึงการกำเนิดชีวิตนั่นเอง กระบวนการกำเนิดชีวิตมนุษย์หรือสัตว์นั้น สเปิร์มของผู้ชาย จะมาผสมกับไข่ของผู้หญิงกลายเป็น 1 เซลล์ จากนั้นหนึ่งเซลล์จะทำการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ กลายเป็นอวัยวะต่างๆ จนกลายเป็นมนุษย์ขึ้นมา ดังนั้นเซลล์ต้นกำเนิดก็เหมือนเซลล์ที่กลายเป็นอะไรก็ได้ เช่นถ้าไปอยู่ที่สมองก็กลายเป็นเซลล์สมอง ไปอยู่ที่เซลล์ตับก็กลายเป็นเซลล์ตับ

สเต็มเซลล์ สร้างความน่าอัศจรรย์ใจและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของวงการแพทย์ ด้วยคุณสมบัติดังนี้

1.สามารถแบ่งตัวของตัวเองได้ตลอด

2.สามารถเปลี่ยนตัวเองได้ เช่นเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเป็นเซลล์อื่นๆได้

3.ยังเป็นตัวของตัวเอง คือมีความเป็นตัวของตัวเองเสมอ หมายถึง ยังคงมีความเป็นสเต็มเซลล์ อยู่นั่นเอง

ด้วยคุณสมบัติสามประการที่กล่าวมา เมื่อ สเต็มเซลล์ เข้าสู่ร่างกาย ก็จะวิ่งเข้าส่วนที่ร่างกายต้องการ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Homing   เพราะเมื่อร่างกายมีบาดแผลจะมีการหลั่งสารบางอย่างออกมา ซึ่งสารตัวนี้เป็นตัวดึงดูดให้สเต็มเซลล์ วิ่งเข้าไปสร้างหรือซ่อมแซมตรงบริเวณนั้นได้ทันที

เซลล์ต้นกำเนิดมาจากไหน

เซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามแหล่งกำเนิด คือ

1.embryonic stem cells หรือ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน

2.adult stem cells หรือเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ที่เจริญแล้ว

โดย embryonic stem cell นั้นจะได้มาจากตัวอ่อนมนุษย์ที่มีอายุ 3-5 วัน หรืออยู่ในระยะ blastocyst นั่นหมายความว่า จะต้องเกิดการทำลายตัวอ่อนมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่ง embryonic stem cells จากที่กล่าวมานี้ทำให้เกิดคำถามด้านศีลธรรมต่อการนำ embryonic stem cells มาใช้

ในขณะที่ adult stem cells นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในร่างกาย เช่น เลือด ไขกระดูก ไขมัน เยื่อหุ้มรก ฟันน้ำนม น้ำคร่ำ และ เนื้อเยื่อสายสะดือ เป็นต้น แต่ในการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจาก เลือด ไขกระดูก หรือไขมันนั้นจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ในขณะที่การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อสายสะดือ และเยื่อหุ้มรกนั้น สามารถทำได้ทันทีเมื่อทารกคลอดจึงไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ ต่อมารดาและทารก และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการนำเข้าสู่กระบวนการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในห้องปฎิบัติการวินเซลล์ รีเซิร์ช  ซึ่งสเต็มเซลล์นี้เราจะเรียกว่า มีเซนไคมอลสเต็มเซลล์ Mesenchymal Stemcell  ( MSCs ) ถือเป็น stem cell ที่มีคุณสมบัติ ของ pluripotent  คือ การเปลี่ยนสภาพเซลล์ ไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี

ข้อดีของนำ MSCs มาใช้ในทางการแพทย์

สร้างเซลล์ผิวหนังใหม่เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากบาดแผล, แผลเป็น และป้องกันปัญหาด้านผิวพรรณที่เกิดจากรังสียูวี ความเสื่อมชรา และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ

สร้างเซลล์ประสาทใหม่แทนเซลล์ประสาทเดิม หรือใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ไขสันหลังบาดเจ็บ ไขสันหลังอักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต จอประสาทตาเสื่อม

โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ , โรคข้อเสื่อมต่างๆ เช่น ปัจจุบันใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูข้อเข่าเสื่อม สเต็มเซลล์สามารถเร่งการซ่อมแซมการสึกกร่อนของกระดูก

โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย เส้นเลือดหัวใจอุดตัน

เช่น SLE หรือโรคพุ่มพวง มีรายงานว่าการใช้สเตมเซลล์ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ลดการใช้ยาได้ , โรคหอบหืด, โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกร่วมกับความเสี่ยงจากพันธุกรรม เบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น แผลเบาหวาน เบาหวานที่ไต สเต็มเซลล์สามารถนำมาใช้ในการรักษาแผลเบาหวานให้หายได้

covid