เกี่ยวกับเรา
นายแพทย์ โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช
ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด
“คนไทยจำนวนมากเป็นโรคมะเร็งและมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้ชีวิตของคนหนุ่มสาวในปัจจุบันเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว ผมมีความมุ่งมั่นที่แน่วแน่ในการพัฒนา ต่อยอด เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งหรือโรคเสื่อมอื่น ๆ ซึ่งทางทีมนักวิจัยของ วินเซลล์ รีเซิร์ช มีความพร้อมที่จะพัฒนา ร่วมมือ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมแนวทางการรักษาโรคในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือกับ บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมี ศ. นพ. อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน พร้อมทั้ง นพ. โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด รศ. นพ. สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศ. ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดโรคมะเร็งศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วม อ่านเพิ่มเติม
ร่วมวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารนานาชาติ "Food Science & Nutrition"
วินเซลล์ รีเซิร์ช ร่วมงานวิจัยกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “การศึกษาผลของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรผสมเสริมฤทธิ์ของสารสกัดพืชกินได้ 5 ชนิด ต่อความยาวของเทโลเมียร์ในผู้ใหญ่” ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ “Food Science & Nutrition” อ่านเพิ่มเติม
บริการตรวจประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้คิดค้นชุดตรวจประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งขึ้นจากการเชื่อมโยงข้อมูลรูปแบบการดำรงชีวิตผ่านแบบสอบถามเชิงพฤติกรรมกับผลตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้เข้ารับตรวจได้ตระหนักถึงระดับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของตัวเอง และหาแนวทางในการลดความเสี่ยง ด้วยแนวคิดที่ว่า “รู้เร็ว รู้ทัน ห่างไกลมะเร็ง”
สนับสนุนเซลล์ต้นกำเนิดเพื่องานวิจัย
วินเซลล์ รีเซิร์ช สนับสนุนเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อใช้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์จากเนื้อเยื่อสายสะดือมนุษย์ในการรักษาโรคไตเรื้อรังในแมว” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการโดย สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อ่านเพิ่มเติม
มาตรฐานสากล ISO9001
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้วางระบบบริหารและการดำเนินงานภายในองค์กรตามมาตรฐานสากล ISO9001 และได้รับการรับรองตั้งแต่นั้นเรื่อยมา
สถานประกอบการเพื่อผลิตยาแผนปัจจุบัน
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการเพื่อผลิตยาแผนปัจจุบันและผ่านการตรวจประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย
นวัตกรรมวัคซีนมะเร็งจากประเทศญี่ปุ่น
ทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ฮารุโอะ สุจิยามะ แห่งสถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยโอซากะ ได้ลงนามอนุมัติให้ วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้รับเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวนอกประเทศญี่ปุ่นในการให้บริการวัคซีนมะเร็งที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นจนได้รับสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2544 โดย วินเซลล์ รีเซิร์ช จะได้รับสิทธิ์เข้าถึงและนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นไปดำเนินการเพื่อเปิดให้บริการวัคซีนมะเร็งดังกล่าวในประเทศไทยได้
“ต้นแบบ” ของแบบแปลนห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้ตรวจประเมินและอนุมัติให้แบบแปลนของห้องปฏิบัติการวินเซลล์ รีเซิร์ช เป็น “ต้นแบบ” ของแบบแปลนห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการเพาะเลี้ยงเซลล์
เซลล์ต้นกำเนิดจากเยื่อหุ้มรก
วินเซลล์ รีเซิร์ช เปิดให้บริการเพาะเลี้ยง “เซลล์ต้นกำเนิดจากเยื่อหุ้มรก” ครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2559 เซลล์ต้นกำเนิดจากเยื่อหุ้มรกมีบทบาทสำคัญต่อวงการเวชศาสตร์ฟื้นฟูและจัดเป็นอีกหนึ่งแนวทางรักษาที่วงการแพทย์ทั่วโลกนำไปใช้เพื่อบำบัดรักษา ซ่อมแซม และลดภาวะหรือโรคเสื่อมต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วย
ความยาวเทโลเมียร์ เซลล์สร้างเส้นใย และเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมัน
วินเซลล์ รีเซิร์ช เริ่มให้บริการตรวจวิเคราะห์ “ความยาวเทโลเมียร์” ใน ปี พ.ศ. 2558 ความยาวเทโลเมียร์บ่งชี้ถึงอายุเซลล์ การรู้อายุเซลล์จะช่วยให้เราจัดการและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสื่อมหรือภาวะชราก่อนวัยอันควรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีเดียวกันเราเปิดให้บริการเพาะเลี้ยง “เซลล์สร้างเส้นใย หรือ เซลล์ไฟโบรบลาสต์” และ “เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อเยื่อไขมัน” ถึงแม้ว่าเซลล์ทั้งสองชนิดมีบทบาทสำคัญต่อวงการเวชศาสตร์ชะลอวัย งานวิจัยทางคลินิกในต่างประเทศแสดงให้เห็นแล้วว่า เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมันมีความปลอดภัยและสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่อาจนำไปสู่โรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้
เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อสายสะดือ
วินเซลล์ รีเซิร์ช เปิดให้บริการเพาะเลี้ยง “เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อสายสะดือ” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการเวชศาสตร์ฟื้นฟู และมีผลงานวิจัยสนับสนุนจำนวนมากที่แสดงถึงความปลอดภัยในการนำไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และศักยภาพของเซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ในการบำบัด ฟื้นฟู และรักษาภาวะหรือโรคเสื่อมต่างๆ
เซลล์ต้นกำเนิดสำหรับการบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
วินเซลล์ รีเซิร์ช เข้าร่วมและสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกในหัวข้อ “เซลล์ต้นกำเนิดสำหรับการบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม” นำโดยทีมแพทย์และนักวิจัย หน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการใน "วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก"
วินเซลล์ รีเซิร์ช ร่วมงานวิจัยกับคณะนักวิจัยจากโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในหัวข้อ “การศึกษาผลของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยสารซัยโตคายด์ให้เป็นคิลเลอร์เซลล์ซไอเค (CIK) เพื่อใช้รักษาร่วมกับการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งทางเดินน้ำดี (Cholangiocarcinoma)” ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน “วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก” อ่านเพิ่มเติม
ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต
“เซลล์เพชฌฆาต” มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์แปลกปลอมต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อก่อโรคหรือความผิดปกติของเซลล์เอง เช่น เซลล์มะเร็ง ดังนั้นประสิทธิภาพการทำของเซลล์เพชฌฆาตจึงเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะสุขภาพของเรา วินเซลล์ รีเซิร์ช เปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำของเซลล์เพชฌฆาตด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกเป็นรายแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
ทุนส่งเสริมงานวิจัยจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีเซลล์บำบัดเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง” จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
เซลล์ภูมิคุ้มกันสำหรับการบำบัดรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี
วินเซลล์ รีเซิร์ช เข้าร่วมและสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกในหัวข้อ “เซลล์ภูมิคุ้มกันสำหรับการบำบัดรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี” นำโดยทีมแพทย์และนักวิจัย โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice)
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้เข้าร่วมอบรมเรื่อง “มาตรฐานห้องปฏิบัติการ Good Laboratory Practice” โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการจากประเทศเยอรมัน
ทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูงสุดจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
จัดตั้งห้องปฏิบัติการ วินเซลล์ รีเซิร์ช
ทีมแพทย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์และเซลล์วิทยาร่วมกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการ วินเซลล์ รีเซิร์ช
วัคซีนมะเร็ง อีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดจากสถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ฮารุโอะ สุจิยามะ ได้ลงนามอนุมัติให้ วินเซลล์ รีเซิร์ช ได้รับเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวในการให้บริการวัคซีนมะเร็งแบบ WT1-pulsed DC cancer vaccine ที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย “เสมือนว่าคุณเดินทางไปรับบริการวัคซีนมะเร็งที่ประเทศญี่ปุ่น” วัคซีนมะเร็งที่พัฒนาขึ้นนี้มีคุณลักษณะพิเศษตรงเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงและกระตุ้นเซลล์ที่มีความจำเพาะกับเซลล์เดนไดรต์ (Dendritic cells หรือ DCs) และสารก่อภูมิต้านทานที่นำมากระตุ้นก็มีความจำเพาะสูงกับมะเร็งหลากหลายชนิดซึ่งก็คือโปรตีนเนื้องอก Wilms (Wilms tumor 1 หรือ WT1) ลำดับกรดอะมิโน (Amino acid sequences) ของ WT1 ที่ทางทีมนักวิจัยในประเทศญี่ปุ่นตรวจพบมีความจำเพาะสูงต่อการจดจำและประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ที (T cells) ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง ในปี พ.ศ. 2544 ลำดับกรดอะมิโนของ WT1 ที่นำมาใช้พัฒนาวัคซีนมะเร็งได้รับการจดสิทธิบัตรจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป ปัจจุบันวัคซีนมะเร็งประเภทนี้มักถูกใช้เพื่อส่งเสริมการรักษาโรคมะเร็งแบบมาตรฐานและช่วยลดโอกาสการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (Metastatic cancer) หรือการเกิดมะเร็งซ้ำ (Recurrent cancer)