ในสังคมปัจจุบันนี้ ด้วยสภาวะที่เร่งรีบ ความเครียด สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษมากมาย ทำให้สังคมคนในเมืองไม่ใช่เพียงแค่ วุ่นวายกับการใช้ชีวิต ยังส่งผลทำให้ครอบครัวยุคใหม่ที่ต้องการมีบุตร ไม่สามารถมีบุตรได้ง่าย หรือแม้แต่ข้อจำกัดทั้งทางเวลา และเศรษฐกิจ จึงทำให้พ่อแม่ยุคใหม่ใช้วิทยาศาสตร์ เข้ามามีส่วนช่วยในการเลือกเพศ หรือแก้ปัญหาการมีบุตรยาก แต่ทำไม เราใช้ทั้งวิธีทางธรรมชาติและวิธีทางวิทยาศาสตร์ แล้ว เกิดสภวะตัวอ่อนหลุด หรือแท้ง ทั้งๆ ที่เราก็แข็งแรง และเตรียมตัวมาอย่างดี ก็เพราะร่างกายเรามีกลไกลอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแท้ง หรือแท้งได้
โดยเราคงยอมรับว่า สำหรับการเตรียมตัวตั้งครรภ์ เราเพียงแค่ตรวจเลือด และตรวจร่างกายธรรมดาเพื่อเตรียมความพร้อม แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยตรวจ คือ การตรวจหาปริมาณและคุณภาพ ของ NK cells ทำไมต้องตรวจ ตรวจแล้วบอกอะไร ถ้าเจอความผิดปกติ ควรทำอย่างไรต่อ เพื่อให้เราลดความเสี่ยงจากสภาวะแท้ง หรือ แท้งได้
จากการศึกษา ปริมาณ NK cells ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 หรือ 23 ปีมาแล้ว ศาสตราจารย์ YAMAMOTO และคณะ แห่งมหาวิทยาลัย Teikyo University School of Medicine, โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปกติสภาวะแท้ง หรือการแท้งนั้นเป็นกลไกลธรรมชาติที่ไม่ให้ตัวอ่อนที่มีความผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่ระดับโครโมโซม เจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป แต่การแท้งที่ผิดพลาด คือ สภาวะตัวอ่อนที่สมบูรณ์แท้งหรือ ตัวอ่อนที่มีความผิดปกติกลับเจริญเติบโตได้ต่อ เป็นเหตุให้ศาสตราจารย์ YAMAMOTO ทำการศึกษาการแท้งกับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ และ ผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับกลไกภายใน หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดใด ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นเซลล์หลักที่เกี่ยวข้องกับการแท้ง โดยเฉพาะ เซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิด NK cells ที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ว่าเป็นเซลล์สำคัญเซลล์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการแท้ง แต่ยังไม่มีใครศึกษาสัดส่วนปริมาณที่มีในกระแสเลือด เพื่อหาความสัมพันธ์ และการศึกษาคือการหา CD56+ NK cells ด้วยวิธี Flow cytometry พบว่า ปริมาณ CD56+ NK cells ของการเกิดสภาวะแท้งในตัวอ่อนปกติ มีปริมาณที่ต่างจาก การแท้งในตัวอ่อนที่ผิดปกติ ดังนั้นสัดส่วน NK cells มีผลต่อการรักษาตัวอ่อนในครรภ์ของแม่นั่นเอง
จากนั้นในปี ค.ศ. 2016 ศาสตราจารย์ Marigoula Varla-Leftherioti ได้ทำการตีพิมพ์ “Natural Killer (NK) Cell Receptors and their Role in Pregnancy and Abortion” ลงในวารสาร Journal of Immunobiology Journal of Immunobiology พบว่า NK cells (dNK CD3-CD56brightCD16dim/-–) มีผลต่อการท้องในไตรมาสแรก และศึกษาต่อถึงกลไกลในการเกิดการแท้ง พบว่า KIR Receptors ที่พบใน NK cells และ T lymphocyte นั้น ส่งผลให้ NK cells ทำลายตัวอ่อนที่ trophoblast (ช่วยให้ตัวอ่อนมีความชุ่มชื่น และเป็นเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่จะเจริญไปเป็นรก) เกิดการ lysis ทำให้ตัวอ่อนหลุด และแท้ง
จากการศึกษาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ NK cells และ กลไกลของ NK cells ที่มีผลต่อการแท้ง แต่ยังไม่สามารถบอกปริมาณค่า Cut off ได้จนปี ค.ศ. 2018 ศาสตราจารย์ Hajar Adib Rad ได้ศึกษาในกลุ่มประชากรอิหร่าน เนื่องจากการแท้งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศ โดยทำการศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 80 คน พบว่า ปริมาณ NK cells ที่ ≥3.4% ( p < 0.015) จะส่งผลให้เกิดสภาวะเสี่ยงต่อการแท้ง
ใน ปี ค.ศ. 2020 ศาสตราจารย์ Yu-Han Meng และคณะ ได้ทำการศึกษาสภาวะแท้งซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นในวัยเจริญพันธุ์ ว่าเกิดจาก NK cell ที่อยู่ที่มดลูกถึง 70% จึงเป็นเหตุให้ การมองหาทางที่เราจะสามารถควบคุม หรือ สร้างสภาวะ NK cell ให้สมดุลทั้งปริมาณ และสุขภาพได้อย่างไร
จากนั้นในปี ค.ศ. 2016 ศาสตราจารย์ Marigoula Varla-Leftherioti ได้ทำการตีพิมพ์ “Natural Killer (NK) Cell Receptors and their Role in Pregnancy and Abortion” ลงในวารสาร Journal of Immunobiology Journal of Immunobiology พบว่า NK cells (dNK CD3-CD56brightCD16dim/-–) มีผลต่อการท้องในไตรมาสแรก และศึกษาต่อถึงกลไกลในการเกิดการแท้ง พบว่า KIR Receptors ที่พบใน NK cells และ T lymphocyte นั้น ส่งผลให้ NK cells ทำลายตัวอ่อนที่ trophoblast (ช่วยให้ตัวอ่อนมีความชุ่มชื่น และเป็นเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่จะเจริญไปเป็นรก) เกิดการ lysis ทำให้ตัวอ่อนหลุด และแท้ง
จากการศึกษาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ NK cells และ กลไกลของ NK cells ที่มีผลต่อการแท้ง แต่ยังไม่สามารถบอกปริมาณค่า Cut off ได้จนปี ค.ศ. 2018 ศาสตราจารย์ Hajar Adib Rad ได้ศึกษาในกลุ่มประชากรอิหร่าน เนื่องจากการแท้งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศ โดยทำการศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 80 คน พบว่า ปริมาณ NK cells ที่ ≥3.4% ( p < 0.015) จะส่งผลให้เกิดสภาวะเสี่ยงต่อการแท้ง
ใน ปี ค.ศ. 2020 ศาสตราจารย์ Yu-Han Meng และคณะ ได้ทำการศึกษาสภาวะแท้งซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นในวัยเจริญพันธุ์ ว่าเกิดจาก NK cell ที่อยู่ที่มดลูกถึง 70% จึงเป็นเหตุให้ การมองหาทางที่เราจะสามารถควบคุม หรือ สร้างสภาวะ NK cell ให้สมดุลทั้งปริมาณ และสุขภาพได้อย่างไร
ในปัจจุบัน เราคงคุ้นเคยกับคำว่าเซลล์บำบัด หรือการรักษาด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคที่ยังหารการรักษาโดยการใช้ยาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้เซลล์บำบัดจากไขกระดูก เพื่อรักษาโรคเลือดผิดปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ตาม ในปี ค.ศ. 2022 ประเทศในยุโรป, อเมริกา, เกาหลี, จีน และ ญี่ปุ่น ได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วในการใช้เซลล์รักษาผู้ป่วย หรือแม้กระทั้งในกลุ่ม wellness แล้วสำหรับคนที่เตรียมตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์แล้วมีสภาวะเสี่ยงต่อการแท้ง มีทางเลือกทางด้านนี้ไหม
ในปี ค.ศ. 2020 ศาสตราจารย์ Carolyn B. Coulam และคณะ แห่งมหาวิทยาลัย Rosalind Franklin University of Medicine and Science, North Chicago, USA ได้อาศัยการรักษาแบบระบบภูมิคุ้มกันด้วยวิธี intralipid administered intravenously ถึงแม้จะเคยมีการศึกษามาก่อนหน้านี้ ว่า ให้ผลของความสำเร็จในการรักษาตัวอ่อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ศาสตราจารย์ Carolyn B. Coulam ได้ไขความลับข้อนี้ และพบว่า การใช้ intralipid administered intravenously ให้ถูกต้องสามารถ ยับยั้ง NK cell ไม่ให้มีบทบาทให้เกิดการแท้งได้
ศาสตราจารย์ Carolyn B. Coulam พบว่า การแท้ง เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพร่างกายของแม่เช่น มดลูก, ฮอร์โมน, ภูมิคุ้มกัน, ลิ่มเลือด และความสมบูรณ์ของตัวอ่อน และการใช้การรักษาแบบ intralipid administered intravenously นั้นเหมาะกับใช้กับ NK cells (Cytotoxic) and pro-inflammatory cytokine ดังนั้น ศาสตราจารย์ Carolyn B. Coulam จึงทำการตรวจหาปริมาณ Cytotoxic NK cell ในเนื้อเยื่อมดลูก พร้อมทั้งหาปริมาร Cytotoxic NK cell ในกระแสเลือด ในผู้หญิงสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการตั้งครรภ์ และ กลุ่มไม่มีการตั้งครรภ์ พบว่า ในกลุ่มหญิงที่มีการตั้งครรภ์ได้ต่อเนื่องมีปริมาณ NK cell ในกระแสเลือดและในเนื้อเยื่อมดลูก น้อยกว่าหญิงที่มีการแท้ง
และพบว่า intralipid สามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ทั้งในสภาวะปกติ และ เพิ่มการฝังตัวของตัวอ่อน(IVF) ลดสภาวะแท้ง จากผลของ NK cells และ pro-inflammatory cytokine แต่ไม่สามารถ รักษาได้ในการแท้งที่เกิดจากสภาวะอื่นเช่น ฮอร์โมน, ข้อจำกัดทางร่างกายของแม่, ลิ่มเลือด และความสมบูรณ์ของตัวอ่อน
ดังนั้น ก่อนตั้งครรภ์ หรือฝังตัวอ่อน มาตรวจหาปริมาณ และ คุณภาพ NK cell เพื่อลดความเสี่ยงการแท้งจากการตั้งครรภ์
ปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ที่…
#WincellResearch
Tel. : 02-3994494-5
Mobile : 095-2541830 , 095-9246223
Line id : cswincell
Email : consults@wincellresearch.com
#เทโลเมียร์ #Cancer #ImmuneTherapy #NKCell #NKcellTherapy #WinKCell #WinKCellTherapy #มะเร็ง #โรคมะเร็ง #ป้องกันโรคมะเร็ง #รักษาโรคมะเร็ง #รักษามะเร็ง #ภูมิคุ้มกันบำบัด #WincellLab #Empire #EmpireHolistic #OlanPiamkulvanich #OranPiamkulvanich #โอฬารเปี่ยมกุลวนิช
เอกสารอ้างอิง
Sugiura-Ogasawara, M., Ozaki, Y., Sonta, S. I., Makino, T., & Suzumori, K. (2005). Exposure to bisphenol A is associated with recurrent miscarriage. Human reproduction, 20(8), 2325-2329.
Lédée, N., Vasseur, C., Petitbarat, M., Chevrier, L., Vezmar, K., Dray, G., … & Chaouat, G. (2018). Intralipid® may represent a new hope for patients with reproductive failures and simultaneously an over-immune endometrial activation. Journal of Reproductive Immunology, 130, 18-22.
Rad, H. A., Basirat, Z., Mostafazadeh, A., Faramarzi, M., Bijani, A., Nouri, H. R., & Amiri, S. S. (2018). Evaluation of peripheral blood NK cell subsets and cytokines in unexplained recurrent miscarriage. Journal of the Chinese Medical Association, 81(12), 1065-1070.
Yamamoto, T., Takahashi, Y., Kase, N., & Mori, H. (1999). Role of decidual natural killer (NK) cells in patients with missed abortion: differences between cases with normal and abnormal chromosome. Clinical & Experimental Immunology, 116(3), 449-452.
Fu, Y. Y., Ren, C. E., Qiao, P. Y., & Meng, Y. H. (2021). Uterine natural killer cells and recurrent spontaneous abortion. American Journal of Reproductive Immunology, 86(2), e13433.
Varla-Leftherioti, M., & Keramitsoglou, T. (2016). Natural killer (NK) cell receptors and their role in pregnancy and abortion. J Immunobiol, 1, 1-6.