Search
Close this search box.

ลองโควิด(Long Covid) : กับระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เหมือนเดิม

เมื่อคุณติดโควิดและหายจากอาการป่วยแล้ว อะไรเกิดขึ้นหลังจาก 8 เดือน ทาง Medical News Today ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2565 โดย Hassan Yayaha  ได้รวบรวมงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ณ เวลานี้  โดยพบว่าตลอดเวลาที่มีการระบาดของโรค COVID19 ในตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจ ถึงกลไกลที่ไวรัสSAR-CoV-2 สามารถเข้าสู่ร่างกายคน และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึง อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันไวรัสชนิดนี้ได้ และกลไกลการเกิดCytokine Storm ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายและทำให้เกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต แม้กระทั้งการกลายพันธ์ของไวรัสที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นักวิทยาศาสตร์ก็พยามยามศึกษาหาข้อมูล เพื่อให้ทุกคนบนโลกปลอดภัย

ตลอดระยะเวลาการศึกษาและวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดแปลกออกไป ในผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้ว ซึ่งข้อมูลนี้ ได้ตีพิมพ์ในนิตยาสาร Nature Immunity ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

แล้วลองโควิด คืออะไร?

  CDC ได้ให้คำจำกัดความของลองโควิดว่า คือผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่หายจากการป่วย แล้วเป็นระยะเวลา ตั้งแต่ 1 อาทิตย์ จนเป็นเดือน เป็นอาการที่รบกวนร่างกายไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ, เส้นเลือดหัวใจ หรือระบบอื่นๆ ของร่างกาย มาดูกันว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบอะไร

จากการติดตามผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้วเป็นเวลา 8 เดือน จำนวน 147 ราย โดยทำการศึกษาข้อมูลทางด้านพยาธิวิทยา, ระบบภูมิคุ้มกัน และ อาการทางคลินิก พบว่ามี 31 ราย จาก 147 ราย ที่มี 3 อาการหลัก ที่เกิดขึ้น คือ ความเหนื่อยล้า, เจ็บหน้าอก หรือหายใจสั้นๆ โดยอาการนี้ จะกินเวลา 4 เดือนของการติดเชื้อ โดยศึกษาเทียบกับ กลุ่มคนที่ไม่ติดเชื้อ, กลุ่มคนสัมผัสผู้ติดเชื้อ (แต่ไม่มีการติดเชื้อ) นอกจากนี้ ยังหาความแตกต่างของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker)ในเลือดเพื่อหาความสอดคล้องทั้งทางด้านการพัฒนาทางชีวะวิทยา, พยาธิวิทยา และเภสัชวิทยา เพื่อหาแนวทางในการรักษา

และจากการศึกษาพบว่า ความแตกต่างของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker)ทางด้านภูมิคุ้มกัน ในกลุ่มคนปกติและกลุ่มลองโควิด ที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด โดยในกลุ่มคนที่เป็นลองโควิดจะมีในระดับที่สูง  ซึ่งสารทั้ง 6 ชนิดนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม

 กลุ่มแรก เป็นกลุ่มของ Interferon ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส  แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ เมื่อตรวจหา naïve T และ B กลับขาดหายไปทั้งที่เซลล์กลุ่มนี้เป็นที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรค  ดังนั้นการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ทำให้เกิดความเฉพาะจะจงที่เรียกว่า residual effect ในระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งแบบไม่เฉพาะเจาะจง และเฉพาะเจาะจง  โดยทำให้เกิดอาการ เหนื่อยล้าแบบเรื้อรัง, เหนื่อยง่าย, หายใจไม่ปกติแบบเดิม, ปวดศีรษะ, ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นานๆ(Brain fog), มีปัญหาด้านความจำ,เจ็บหน้าอก, ปวดกล้ามเนื้อและข้อ หรือแม้กระทั้งอาการซึมเศร้า จึงทำให้สภาวะลองโควิดเป็นสิ่งที่เราต้องติดตาม เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่เราต้องทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบ

โดยในปัจจุบันเราทราบเพียงแค่ว่า ระบบภูมิคุ้มกันของกลุ่มลองโควิดที่ผิดเพี้ยนไปจากคนปกติ  และการศึกษาเรื่องลองโควิดในปัจจุบัน เรายังขาดข้อมูล ในการทำ Cohort study ให้ครบทุกกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์ แต่อย่างน้อยข้อมูลในปัจจุบัน ก็ทำให้เราได้ตระหนักว่า ไม่ใช่แค่การติดเชื้อโควิดเท่านั้น ที่เราต้องกังวล แต่สภาวะหลังติดเชื้อที่เรียกว่า ลองโควิดก็เป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักไม่แพ้กัน

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษา จำนวนและแอคติวิตี้ของ NK cell โดยพบว่า ในกลุ่มลองโควิดมีจำนวนและแอคติวิตี้ ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ NK cell ที่มีมาร์คเกร์ CD56 ที่เพิ่มขึ้นถึง 1.7เท่า  การเพิ่มขึ้นของ NK cell ในกลุ่มลองโควิดยังคงทำการศึกษาต่อไป เนื่องเพราะจากการรักษาผู้ป่วยโควิดที่ผ่านมา มีการใช้ NK cell มาทำการรักษาแบบเซลล์บำบัด และปรับจำนวนและ NK cell ให้สมดุล จึงนับว่า การใช้ NK cell เพื่อการรักษา น่าจะเป็นอีกทางเลือกทั้งในการรักษาโควิดและ ลองโควิด

เอกสารอ้างอิง

1.         Raveendran, A.V., Jayadevan, R. and Sashidharan, S., 2021. Long COVID: an overview. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 15(3), pp.869-875.

2.         Galán, M., Vigón, L., Fuertes, D., Murciano-Antón, M.A., Casado-Fernández, G., Domínguez-Mateos, S., Mateos, E., Ramos-Martín, F., Planelles, V., Torres, M. and Rodríguez-Mora, S., 2022. Persistent Overactive Cytotoxic Immune Response in a Spanish Cohort of Individuals With Long-COVID: Identification of Diagnostic Biomarkers. Frontiers in Immunology, 13.

3.         Varchetta, S., Mele, D., Oliviero, B., Mantovani, S., Ludovisi, S., Cerino, A., Bruno, R., Castelli, A., Mosconi, M., Vecchia, M. and Roda, S., 2021. Unique immunological profile in patients with COVID-19. Cellular & molecular immunology, 18(3), pp.604-612.

4.         Crook, H., Raza, S., Nowell, J., Young, M. and Edison, P., 2021. Long covid—mechanisms, risk factors, and management. bmj, 374.

"มะเร็ง" ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของเรา
อย่าปล่อยให้โรคร้ายนี้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรัก