Search
Close this search box.

ไขความลับเซลล์เพชฆาต(NK Cells) กับโควิด?

หลังจากการได้รับวัคซีน เราพบว่ากลุ่มคนที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงลดน้อยลง แต่สัดส่วนคนที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะเกิดในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง และ เบาหวานเป็นต้น  

            นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยหนัก ประมาณ 15% เกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ที่เรียกว่า Type I interferon pathway ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1957 ว่าเป็นกลไกที่ทำลายไวรัสโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลของคณะวิจัยที่นำทีมโดย ศ. Witkowski ที่แสดงถึงกลไกลของ NK cells ว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง พบว่ามีปริมาณ Anti-inflammatory ในกระแสเลือด ซึ่งเกี่ยวข้องควบคู่กับNK cell ที่ตอบสนองต่อไวรัส SAR-CoV-2

            เพิ่งไม่นานมานี้ เราจึงทราบกันว่า NK Cell คือเม็ดเลือดขาว ที่สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถอาศัยระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด(innate immune)เพียงอย่างเดียว ซึ่งการทำงานที่อาศัยระบบนี้ NK cellยังมีอีกกลไกลมีหน้าที่ให้การติดตามเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส จากนั้นจะทำหน้าที่ทำลายโดยทันทีเมื่อพบเซลล์ติดเชื้อ โดยการหลั่ง Cytotoxic granules นอกจากนี้ยังมีอีกกลไกที่ NK cell ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด(innate immune) ควบคู่กับ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive immune) โดยสร้างสารต่อสู้ไวรัสที่เรียกว่าสารเคโมคาย (Chemokine)สารนี้จะปรับพฤติกรรม เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันตัวอื่นๆ ให้เกิดการตอบสนองทางด้านภูมิคุ้มกันให้สอดคล้องกัน จึงเห็นได้ว่า NK cellมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน

            ความหลากหลายของกลไกในการต้านไวรัสที่ NK cells มีนั้น จึงเป็นที่สนใจ เมื่อเกิดการระบาดของCovid19 นักวิทยาศาสตร์ เริ่มเก็บข้อมูลและศึกษาจำนวนและความสามารถในการทำลายเชื้อไวรัส  จนทำให้ปัจจุบันมีข้อมูลของ NK cell มีมากขึ้น ที่จะพอสรุปได้ว่า หากปริมาณ NK cell มีน้อยกว่าปกติ โอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสจะมีสูงขึ้น  จึงมีการศึกษาเพิ่มเติม ในกลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิด เพื่อหาปริมาณ NK cell ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการว่าเป็นอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ พบว่า ในช่วงเริ่มแรกของการติดเชื้อ ปริมาณไวรัสนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ในกระแสเลือดมีปริมาณ NK cell สูงมาก

ซึ่งผลของข้อมูลนี้ นักวิทยาศาสตร์ จึงนำ NK cell ในคนปกติมาทดลองภายใต้หลอดทดลอง เพื่อดูประสิทธิภาพการทำลายไวรัสของโรคโควิด19 พบว่าสามรถทำลายไวรัสได้ดี แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ NK cell ที่ได้จากผู้ป่วยโควิดในกลุ่มอาการปานกลาง ถึงรุนแรง พบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง NK cell  ยังมีประสิทธิภาพในการจับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และปล่อยสาร Cytotoxic เพื่อทำลายไวรัส ที่มีปริมาณสูงกว่าปกติด้วย ตรงกันข้ามกับ NK cell ที่ได้มาจากกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง ที่พบว่า NK cell สามารถผลิตสาร Chemokine และCytokine  น้อยกว่า กลุ่มคนปกติ, คนไข้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยจนถึงปานกลาง

การที่ NK cell ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมในกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงนั้น  ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองความสำคัญของ NK  Cell มากขึ้นกว่าแค่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง หรือเพียงแค่ทำลายไวรัสไข้หวัดทั่วไปๆ แต่ความสามารถของ NK cell ยังสามารถทำลายไวรัสเกิดใหม่อย่าง SAR CoV2 ที่ก่อโรคโควิดได้ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ NK cell ยังสามารถป้องกันปอด โดยไม่ให้ปอดเกิด สภาวะที่เรียกว่า Lung fibrosis ซึ่งสงผลให้ปอดไม่สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ในผู้ติดเชื้อบางราย

            นักวิทยาศาสตร์ จึงเริ่มมองการรักษาผู้ป่วย โดยการหาวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพ ของ NK cell เพราะเราไม่รู้ว่าในอนาคต เราจะเจอไวรัสที่สามารถก่อโรคในร่างกายแบบไหนอีก ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิต และเศรษฐกิจ เหมือนโควิดอีกหรือไม่ ดังนั้นในการที่ร่างกายเจอโรคอุบัติใหม่นั้น ด่านแรกที่สามารถป้องกันเราได้ คือภูมิคุ้มกันเราเอง จึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใด NK cell จึงเป็นทางเลือกที่นักวิทยาศาสตร์ ได้นำมามองร่วมกับการรักษาในอนาคต เพื่อป้องกันและรักษา เพราะ ความฉลาดของNK cell ที่สามารถทำลายไวรัสที่แม้แต่ร่างกายเจอครั้งแรก, ไวรัสที่สามารถหลบหลีก หรือกลายพันธุ์ NK cell ก็ยังสามารถค้นหาและตามไปทำลายได้ ดังนั้น การที่เรารู้ถึงจำนวนและประสิทธิภาพของ NK cell ในร่างกายเรานั้น ทำให้เราสามารถรักษาระดับ  และประสิทธิภาพ ย่อมเป็นผลดีต่ออนาคตทางด้านสุขภาพของเราอย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง

  1. Narni-Mancinelli, E. and Vivier, E., 2021. Clues that natural killer cells help to control COVID.
  2. Ghasemzadeh, M., Ghasemzadeh, A. and Hosseini, E., 2021. Exhausted NK cells and cytokine storms in COVID-19: Whether NK cell therapy could be a therapeutic choice. Human immunology.
  3. Jeyaraman, M., Muthu, S., Bapat, A., Jain, R., Sushmitha, E.S., Gulati, A., Anudeep, T.C., Dilip, S.J., Jha, N.K., Kumar, D. and Kesari, K.K., 2021. Bracing NK cell based therapy to relegate pulmonary inflammation in COVID-19. Heliyon, 7(7), p.e07635.
  4. Soleimanian, S. and Yaghobi, R., 2020. Harnessing memory NK cell to protect against COVID-19. Frontiers in Pharmacology, p.1309.
  5. Alrubayyi, A., 2020. NK cells in COVID-19: protectors or opponents?. Nature Reviews Immunology, 20(9), pp.520-520.

"มะเร็ง" ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของเรา
อย่าปล่อยให้โรคร้ายนี้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรัก